เสียงที่หายไปของถนนข้าวสาร
เสียงที่หายไปของถนนข้าวสาร
โดย ไม้เอก
#คิดอย่างเจอนัล นักหัดเขียน ss.2
“ผู้ไร้เสียงในสถานการณ์ COVID”
หากจะพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังไปทั่วโลกที่คุ้นหูเป็นอย่างดี และเป็นสถานที่ให้โอกาสในการทำธุรกิจสถานบันเทิงให้ประสบความสำเร็จมากที่สุด ถนนข้าวสารคงจะเป็นทำเลทองที่ให้คนทั่วไปได้รับโอกาสนี้มากที่สุด ซึ่งถนนข้าวสาร เป็นสถานที่พักผ่อนและแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดคนจากทั่วทุกมุมโลก ถนนเส้นนี่เป็นสีสันของประเทศไทยชวนให้หลงไหล ซึ่งการแพร่ระบายของโรค COVID-19 ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีทีท่าว่าจะหยุด สถานที่ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดการแพร่ระบาดและทำให้เชื้อกระจายไปอีกมากก็คงจะหนีไม่พน สถานบันเทิง ผับ บาร์ หรือร้านที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ จึงทำให้ทางรัฐต้องออกมาตราการสั่งปิดสถานบันเทิงชั่วคราวเพื่อควบคุมสถานการณ์และลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่แพร่กระจาย
.
ภาพของสถานบังเทิงที่ค่อยๆ ปิดตัวลงอย่างหน้าเศร้า แสงสีและเสียงดนตรีที่หายไปในยามค่ำคืน ที่ที่เมื่อก่อนเคยคึกครื้นตอนนี้กลับเงียบเหมือนเมืองร้าง ถนนข้าวสารที่ในตอนนี้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ด้วยการที่เป็นย่านสถานบันเทิงจุดเด่นที่สำคัญของประเทศไทย ส่งผลให้เศรษฐกิจของถนนข้าวสารซบเซาลงเป็นอย่างมาก ร้านค้าต่างๆ ทยอยปิดตัวลงไป จนกลายเป็นถนน 400 เมตร ที่หน้าเศร้า
.
เทวดาตกสวรรค์
ถนนข้าวสาร มีจุดเด่นคือสถานบันเทิงมากมายหลากหลายรูปแบบให้เลือกเข้าไปสังสรรค์ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเยือนจับจ่ายใช้ส่อยจำนวนมากมาย ริมถนนเต็มไปด้วยสินค้าราคาถูกรวมไปถึงร้านอาหาร โรงแรม เกสต์เฮาส์ มีหลายราคาหลายระดับตามสภาพและประเภทของห้องพัก มีให้เลือกมากมาย ในยามราตรีถนนเส้นนี้มีสีสันน่าดึงดูดใจ เต็มไปด้วยผู้คนไม่ขาดสาย จึงทำให้ถนนเส้นนี้มีเงินหนุมเวียนเป็นจำนวนมาก โดยในแต่ละวันจะมีรายได้การท่องเที่ยวเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20 ล้านบาทต่อวันและในช่วงเทศกาลที่เป็นจุดเด่นของถนนเส้นนี่คือวันสงกรานเป็นที่หน้าดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก คนเข้ามาท่องเที่ยววันละไม่ต่ำกว่า 50,000 คน และมีรายได้เข้ามาช่วงเทศกาลสงกราน 100 ล้านบาทต่อวัน ทำให้ถนนเส้นนี้เป็นทำเลทองในการทำธุรกิล ราคาเช่า ขาย ค่อนข้างสูง เป็นย่านธุรกิจที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากแห่งหนึ่งของกรุงเทพ แต่พอมีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ตัวเลขเหล่านั้นได้หายไป
.
จากเดิมที่ถนนเส้นนี้มีคนมาเที่ยวไม่ขาดสาย แต่ในตอนนี้คนเหล่านั้นได้หายไป สถานบันเทิง ร้านอาหาร ที่เคยมีสีสันผู้คนเต็มร้านแต่ตอนนี้คนก็เริ่มทยอยหายไป รายได้ลดลงเกือบจะไม่มีเลย ในหลายๆ ร้านก็ต้องจำใจไล่พนักงานออก เอาของในร้านมาขายบ้าง เพื่อความอยู่รอดของร้าน แต่ก็ยื้อไว้ได้ไม่นาน สถานการณ์เริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ ทุกอย่างก็แย่ลงโดยการสั่งปิดสถานบังเทิงชั่วคราว จึงขาดรายได้ทั้งหมดไปตอนนี้เหมือนถนนร้าง ร้านส่วนใหญ่ก็เซ่งและขาย ด้วยค่าเช่าที่ราคาแพงจนยื้อร้านไว้ไม่ไหว เงินเก็บที่มีอยู่ลดลงและใกล้หมดไปทุกที จึงจำใจต้องปิดร้าน ถนนข้าวสารเต็มไปด้วยร้านที่ปิดตัวลง บางร้านก็ยกเลิกธุรกิจไป
.
แต่ก็ยังมีบางร้านส่วนน้อยที่ยังเปิดอยู่ ร้านที่ยังเปิดอยู่ก็จะเป็นร้านที่จากเดิมเป็นร้านที่ขายทั้งอาหารและเครื่องดื่มมึนเมา จึงได้เปลี่ยนรูปแบบร้านที่ขายเครื่องดื่มมึนเมาไม่ได้ มาเป็นร้านขายอาหารแบบเต็มรูปแบบ จะเน้นไปทางการขายอาหาร เครื่องดื่ม กาแฟ และได้เปลี่ยนการจัดพื้นที่ภายในร้านจากเดิมเป็นพื้นที่นั่งกินสังสรรน์กัน เลยเปลี่ยนเป็นที่นั่งกินอาหาร ลดจำนวนที่นั่งให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ก็ยังพอมีลูกค้ามาบ้าง และเพิ่มสินค้าจากเดิมให้มีทางเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น เพิ่มช่องทางการขายเป็นแบบออนไลน์ ผ่านแอพพิเคชั่นต่างๆ หรือ โทรจากทางร้านได้เลย เป็นทางเลือกหนึ่งให้กลับลูกค้าที่ไม่อยากนั่งทานที่ร้าน ส่วนอาคารที่เปิดอีกประเภทนึงที่ได้ผลกระทบเป็นอย่างมากเหมือนกันก็คือ โรงแรม เกสต์เฮาส์ ที่แต่เดิมลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติเป็นจำนวนมากและราคาที่สูง แต่ตอนนี้ มีห้องว่างมากมาย ทั้งลดราคาเป็นพิเศษ ก็ยังแถบจะไม่มีคนมาพักเลย เพราะด้วยสถานการณ์แบบนี้
.
เสียงจาก คุณสง่า เรืองวัฒนกุลนายกสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจถนนข้าวสาร
“ไม่มีใครนึกว่าจะมีวันนี้ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เราเจอในถนนข้าวสารเราเจอมาเยอะ แต่เหตุการณ์มันมีจุดจบของมัน และมันกระทบในด้านเศรษฐกิจบางส่วนไม่ใช่ภาพใหญ่ วิกฤต COVID-19 หนักที่สุดตั่งแต่เกิดมาเลยกว่าว่าได้ เดิมทีตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ปลายปี 2562 เราเห็นว่านักท่องเที่ยวลดลง เราพยายามปรับตัวในเรื่องของเศรษฐกิจยังไม่เกี่ยวกับเรื่องแพร่ระบาด เราเห็นแล้วว่าเศรษฐกิจโลกมันเริ่มลง พอมาเจอต้นปี 2563 เราจึงมีเรื่องของการเรียกผู้ประกอบการมาประชุมกันและเราให้ความรู้กับผู้ประกอบการว่า คนที่ขายของสินค้าต่างๆที่ขายให้กับนักท่องเที่ยว คุณต้องปรับตัว ต้องระบายของของคุณอย่าสั่งของเข้ามา พวกร้านนวด ร้านขายของต่างๆต้องปรับตัว เพราะคนไทยไม่มาซื้อ แต่วันนี้บางครั้งนี้เขาปรับตัวไม่ทัน
.
หลายๆคนก็ปรับตัวไม่ทัน และเขาก็ไม่มีทุนที่จะไปปรับตัวก็กัดฟันถือไว้แบกเอาไว้ แต่วันนี้มันไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลพูด จากเดิมเคยมองว่าสั้นๆแต่ตอนนี้ 3 ปีแล้ว” (ที่มา https://youtu.be/eyB_zkMOt2E)
การให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐถือว่าน้อยมากและมีขั้นตอนที่ยุ่งยากโอกาสที่จะเข้าถึงเงินทุนแถบจะมองไม่เห็น จึงอยากเห็นความช่วยเหลือผู้กระกอบการท่องเที่ยวและสถานบันเทิงที่ง่ายใช้ได้จริง และเห็นเป็นรูปธรรมจากภาครัฐสักที คนที่เช่าอาคารทางภาครัฐต้องสามารถให้ผู้ปล่อยเช่าเอาค่าเช่าไปหักภาษีได้หรือไม่เก็บภาษี สมมุติว่าผู้ปล่อยเช่าลดราคา 50% ส่วนที่ลดให้นี่เอาเป็นส่วนที่หักภาษีได้ ทำให้ผู้ปล่อยเช่าอยากที่จะลดค่าเช่า ส่วนเรื่องป้ายโฆษณาทางรัฐต้องยกเว้นภาษีเขา ยกเว้นภาษีโรงเรือน ทางภาครัฐต้องไปหาวิธีลดค่าใช้จ่ายต่างๆของผู้ประกอบการ ภาครัฐต้องรีบหานโยบายมาช่วยเหลือ ที่เห็นเป็นรูปธรรมและคาดการว่าสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวนั้นกว่าจะฟื้นคืนชีพก็อีกอย่างน้อย 2 ปีหลังจากนี้และหากยังไม่เห็นมาตราช่วยเหลือที่ชัดเจนจากภาครัฐ บรรดาผู้ประกอบการท่องเที่ยว ที่เคยเป็นหลักให้แก่เศรษฐกิจไทยก็จะค่อยๆ ล้มหายตายจากอย่างไม่มีวันกลับ (ที่มา https://youtu.be/xfhi0vJxT28)
.
เสียงจากผู้ประกอบการ
สถานบันเทิง ร้านอาหาร โรงแรม เกสต์เฮาส์ และร้านต่างๆ บางส่วนที่ยังคงเปิดอยู่ และเจอปัญหาเดียวกัน จึงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องดิ้นรน ไม่มีวันไหนถนนข้าวสารนั้นเงียบได้ถึงขนาดนี้ ถึงจะมีเหตุการณ์ประท้วงอะไรต่างๆ ก็ไม่สงผลกระทบหนักเท่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และการสั่งปิดเปิดของทางรัฐที่ไม่แน่นอนในการระงับการแพร่เชื้อ จึงส่งผลทำให้ของที่ลงทุนนำไปขายนั้นเกิดการเน่าเสียและทิ้งไป ทำให้ขาดรายได้ไปอย่างเสียเปล่า จากเดิมที่รายได้ส่วนใหญ่มาจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติตอนนี้ไม่มีแล้ว มีแต่ลูกค้าคนไทยเพียงน้อยนิด รายได้ก็แถบจะไม่มี นโยบายที่รัฐให้มาในระยะยาวก็พึงไม่ได้มากนัก เราก็ต้องช่วยเหลือตัวเองให้มาก ถ้ามันไม่ไหวก็คือไม่ไหว เราก็ไม่รู้ว่าจะไปเรียกร้องอะไรจากรัฐบาล รู้สึกไม่ดีที่เขาเพิกเฉยต่อสถานการณ์ที่มันรุนแรง
.
“ตอนนี้ข้าวสาร ต้องเรียกว่าตายจริงๆเราเงียบมาก เคยนึกภาพถนนข้าวสารตอนที่ทุกเต้นอยู่บนถนนได้ไหมทุกคนยังมีภาพจำอันนั้นอยู่ วันนึงที่พี่เดินไปแล้วเห็นถนนข้าวสาร พี่ยืนอยู่ที่หัวถนนข้าวสารและมองไปจนสุด มองไปท้ายถนนข้าวสารข้าว แล้วเรามองเห็นฝั่งตรงข้าม คือปกติเราจะเห็นแต่หัวคนเต็มไปหมด แต่พอวันที่ข้าวสารไม่มีคน วันที่ไฟปิด วันที่ไม่มีเสียงเพลง วันนั้นมันมากกว่าความรู้สึกแย่ มันเศร้า มันเหมือนเมืองร้าง”
(ที่มา https://youtu.be/O5ZTtBju2Hw)
KALANBATU ร้านบาร์เร้กเก้ มีเอกลักษณ์เฉพาะของร้านโดยการตกแต่งร้านแบบเร้กเก้ มีดนตรีสดและลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติและคนไทยนั่งอยู่เต็มหน้าร้าน ช่วงสั่งปิดสถานบันเทิงร้านนี้ปรับเปลี่ยนเป็นร้านขายพิซซ่าและเครื่องดื่ม
ผู้ประกอบการ บอกว่า ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขาย มาขายตอนกลางวัน ปรับเป็นขายกาแฟ ชา และพิซซ่า แต่ก็ไม่ดี เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ของพี่เป็นนักดื่มพี่มีแต่ลูกค้ากลางคืนพอมาเปลี่ยนมาขายกลางวันต้องใช้เวลาปรับตัว แล้วระบบการปิดเปิดของรัฐบาลไม่แน่นอน ทำให้ร้านไม่นิ่งคับ เวลากลางวันสั้นมาก เปิดแล้วติดลบมากคับ ไม่คุ้ม COVID รอบแรกถึงตอนนี้ พี่มีหนีห้าแสนกว่าบาท
ROCCO มีที่นั่งกินสังสรรค์ข้างล่างและที่เป็นจุดเด่นคือชั้นที่สองนั้นเป็นผับและชั้นดาดฟ้าให้คนที่เข้ามาท่องเที่ยวดื่มด่ำวิวกรุงเทพ และด้วยช่วงที่มีมาตรการของรัฐชั้นสองที่เป็นผับจึงไม่ได้เปิด และปรับเปลี่ยนเป็นขายอาหารและเครื่องดื่ม
ที่มา https://www.facebook.com/chartbarkhaosan/
ชาติ เดิมทีเป็นร้านขายอาหารและเครื่องดื่นแอลกอฮอร์ มีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเข้ามา ด้วยมาตราการณ์ของรัฐร้านนี้จึงมาขายอาหารแบบเต็มรูปแบบ
เราจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนของถนนเส้นนี้ ที่ได้รับผลกระทบหนักจนถึงขีดต่ำสุด ด้วยแนวธุรกิจที่รายได้หลักมาจากชาติต่างชาติและสถานบันเทิงต่างๆ จึงได้รับผลกระทบหนักที่สุด ถนนเส้นนี้จึงถูกแทนที่ด้วยความเงียบเหงา ตอนกลางคืนปกคุมไปด้วยความมืดมิด จนมาถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 มีมาตรการให้เปิดประเทศได้ และสามารถเปิดสถานบันเทิงและขายเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ได้ จนถึงเวลา 21:00 น. ถนนเส้นนี้จึงกลับมานี้สีสันขึ้นมาบ้าง แต่ก็ยังถือว่าเงียบเหงาอยู่ดี ด้วยคนที่เข้ามาท่องเที่ยวมีจำนวนน้อยลงมาก ยังมีเกินครึ่งของร้านทั้งหมดที่ยังคงปิดอยู่ และเวลาที่สามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์มีระยะเวลาน้อยมาก
.
เสียงจากผู้ใช้บริการ
มีคนไม่น้อยที่ชอบสังสรรค์และหลงไหล่ในบรรยากาศของถนนข้าวสาร รอคอยการกลับมาของถนนข้าวสารที่เราคุ้นเคย มีผู้คนมากมายและร้านค้าต่างๆที่เปิดเต็มสองข้างทาง เป็นสถานที่ของคนกลุ่มนี้ได้มาพักผ่อนและปลดปล่อยความเป็นตัวเอง
“อยากให้มันกลับมาเปิดอีกครั้ง อยากได้ความสนุกแบบนั้นกลับมา” หนึ่งในเสียงจากผู้ที่เคยใช้บริการสถานบันเทิงของถนนข้าวสาร “ตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เราล้วนมีความเครียดสะสมกันทั้งนั้น จากเดิมที่เมื่อเราเครียดวันศุกร์ก็จะได้ออกไปเที่ยว กินดื่มเพื่อสร้างความสนุกให้กับตัวเอง ได้ไปเจอผู้คนใหม่ๆ แต่ตอนนี้กลับทำอะไรไม่ได้มากนัก ถ้าสถานการณ์การติดเชื้อลดลงกว่านี้คงจะกลับไปสนุกแบบเดิมได้”
“มันเป็นถนนที่มีความหมายสำหรับเรามาก มันสร้างความผ่อนคลาย ความสนุกสนามให้กับเราได้ ปกติเราไปเป็นประจำ อย่างน้อยอาทิตย์ละสองครั้งเพื่อเป็นรางวัลให้กับตัวเองให้มาหาความสุข แต่พอถนนเส้นนี้ไม่เหมือนเดิม มันได้เอาบางส่วนของความสุขเราไปด้วย”
“ในสภาวะที่สังคมตึงเครียดมากๆ คนที่เคยดื่มอย่างเรานั่งร้านเหล้าเป็นบ้านเลย คือ ตอนเย็นนั่งดื่มคนเดียวที่บาร์ก็มีความสุขแล้ว แล้วในสถานการณ์ที่มันตึงเครียดนี้ปรากฏว่า ไม่มีที่ให้เราได้ใช้ชีวิตอย่างที่เคยเป็น คนอื่นอาจไปเดินห้างเป็นปกติในการใช้ชีวิต แต่คนบางส่วนไปนั่งดื่มเป็นส่วนนึงในชีวิตเหมือนกัน แล้วทำไมคุณค่ามันถึงไม่เท่ากัน” (ที่มา https://youtu.be/xiqubd-at14)
.
ถนนความยาว 400 เมตร เส้นนี้เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมาย เป็นถนนที่มีชีวิตชีวาผู้คนจำนสนมากหลั่งไหลเข้ามาเยือนไม่ขาดสาย และเป็นสถานที่ให้โอกาสคนในการทำธุรกิจต่างๆให้ประสบความสำเร็จ เป็นถนนที่มีเงินหมุนเวียนมากมาย เป็นจุดท่องเที่ยวที่โดดเด่นของประเทศไทยไม่ว่าคนไทยหรือว่าชาวต่างชาติ ก็รู้จักและหลงเสน่ของถนนเส้นนี้
.
เพราะการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ถนนเส้นนี้ไม่เหมือนถนนข้าวสารที่เราคุ้นเคยเหมือนที่ผ่านมา บรรดาผู้ประกอบการต้องเผชิญหน้ากับความลำบาก นักท่องเที่ยวที่หลงไหล่ในที่แห่งนี้อยากที่จะกลับมาหาความหน้าหลงไหลของถนนเส้นนี้ ถนนข้าวสาร ไม่ใช่แค่ถนนธรรมดาแต่มันคือสวรรค์ของคนธรรมดาที่อยากจะมาหาความสนุกสนาม เป็นสวรรค์ของคนที่อยากจะทำธุรกิจที่อยากจะเปิดร้านในถนนเส้นนี้ และยังคงเฝ้ารอการกลับมาของถนนเส้นนี้ ถนนข้าวสาร
Comentarios