"รักษ์แรกพบ" เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการเก็บข้อมูลก่อนเริ่มงานอนุรักษ์ เรียนรู้เทคนิคโดรนและโฟโตแกรมเมตรี
อัปเดตเมื่อ 26 พ.ย. 2565
เมื่อนักศึกษาฝึกงานต้องมาเจอกับโดรนและโฟโตแกรมเมตรีในการเก็บข้อมูลโบราณสถานครั้งแรก
"LOVE AT FIRST SITE" Modern Technology for Data Documentation Before Start Conservation Work - Learning to Use Drone and Photogrammetry
อภิรัก คลายนา
นักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
นักศึกษาฝึกงาน โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม ปี 2565
Aphirak Klayna
Student at Faculty of Sociology and Anthropology Thammasat University (Rangsit Campus)
2022 AFCP Wat Chaiwatchaiwatthanaram Intern
เมื่อปี ๒๕๕๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ โบราณสถานหลายแห่งได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะที่วัดไชยวัฒนาราม เนื่องจากกำแพงทิศใต้ได้พังลงจนน้ำไหลทะลักเข้ามาในเขตโบราณสถานที่ความสูงกว่า ๒.๐๐ เมตร วัดไชยวัฒนารามจมอยู่กับน้ำขังนานนับเดือน ส่งผลให้เกิดความเสียหายในหลาย ๆ ด้าน เพื่อที่จะฟื้นฟูโบราณสถานให้กลับมามีสภาพที่ดีดังเดิม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือการฟื้นฟูและอนุรักษ์วัดไชวัฒนารามโดยสนับสนุนงบประมาณผ่านกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (The U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation หรือ AFCP) โดยร่วมมือกับอีก ๒ หน่วยงานสำคัญ คือ กองทุนโบราณสถานโลก (World Monuments Fund หรือ WMF) ที่ให้ความช่วยเหลือในการสนับสนุนเงินทุนและผู้เชี่ยวชาญในงานด้านการอนุรักษ์โดยเฉพาะ และกรมศิลปากรที่มีบทบาทด้านการฟื้นฟูแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและถือเป็นผู้ดูแลพื้นที่ของวัดไชยวัฒนารามโดยตรง
Ayutthaya province encountered a severe flood in 2011. Many ancient sites were affected badly, especially Wat Chaiwatthanaram, because of the high-water level, approximately 2.00 meters or 8.20 feet. It was the highest water level ever had. Consequently, Wat Chaiwatthanaram had been drowned for months, which made the structure of the site damaged. The importance of conservation in restoring the site to its former glory cannot be overstated. The U.S. Embassy in Thailand assisted by providing financial support, which is sponsored by the United States Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP), and collaborated with two important organizations: the World Monument Fund, which is in charge of grant and specialists, and the Fine Arts Department of Thailand, which is in charge of responsibility on cultural heritage protection and preservation of the site.
ก่อนที่จะทำการอนุรักษ์หรือซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของโบราณสถานนั้น การเก็บข้อมูลเป็นสิ่งที่จะขาดไปเสียมิได้ ยิ่งข้อมูลที่เก็บได้มีความละเอียดมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีประโยชน์ต่อขั้นตอนการอนุรักษ์มากขึ้นเท่านั้น การเก็บข้อมูลภาพถ่ายโบราณสถานและการเขียนแบบก่อนการอนุรักษ์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันเทคนิคการเก็บข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ได้พัฒนาให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น
เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ นักศึกษาฝึกงานของโครงการวัดไชยวัฒนารามได้มีโอกาสพบกับคุณนฤดม แก้วชัยหรือพี่มอฟ สถาปนิกประจำกรมศิลปากร ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลโบราณสถานด้วยวิธีบินโดรน (Drone) และการใช้โปรแกรมโฟโตแกรมเมตตรี (Photogrammetry)
โปรแกรมโฟโตแกรมเมตรี เป็นเทคนิคการเขียนและกำหนดสภาพสามมิติของวัตถุหรืออาคาร จากการเก็บข้อมูลด้วยภาพถ่ายสองมิติ การถ่ายภาพสำหรับการเก็บข้อมูลก่อนการอนุรักษณ์นั้นไม่เน้นความสวยงาม แต่ให้คำนึงถึงความถูกต้องของระยะภาพเป็นสำคัญ โดยที่ภาพถ่ายจะต้องมาจากตำแหน่งต่าง ๆ รอบตัววัตถุ เพราะเมื่อซอฟท์แวร์ประกอบภาพเข้าด้วยกันจากภาพถ่ายที่ใช้จุดอ้างอิงหลากหลาย ภาพ ๓ มิติที่ได้ก็จะยิ่งมีความสมบูรณ์และแม่นยำมากขึ้น สำหรับการประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์นั้น จะใช้โดรนในการบินเพื่อเก็บภาพถ่ายรอบ ๆ โบราณสถาน เพราะมีความสะดวกมากกว่าการใช้กล้องถ่ายรูปหรือกล้องโทรศัพท์ทั่วไปที่จะต้องจะใช้หลายตัว เพื่อที่จะเก็บภาพแต่ละมุมของโบราณสถาน โดยที่โดรนจะบินเป็นรูปโดม (Dome) รอบโบราณสถาน โดรนที่ใช้บินจะติดตั้งกล้องที่สามารถปรับองศาหรือมุมกล้องได้อย่างอิสระ เมื่อทำการถ่ายรูปจนครบทุกมุมแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการนำภาพที่ได้มาประมวลผลด้วยซอฟต์แวร์เพื่อที่จะนำภาพ ๓ มิติมาใช้กับการอนุรักษ์ในขั้นตอนอื่น ๆ ต่อไป
Data recording must be done before activating any conservation doing. The more details that are provided, the better. Therefore, the first step in every conservation project is to record photo data. The technique for gathering data has advanced significantly in recent years. On June 21, 2012, Mr. Narudom Kaewchai or P’ Moff, an architect from the Fine Arts Development of Thailand, offered the interns at Wat Chaiwatthanaram Projects the chance to learn about drones and photogrammetry.
A method of architectural drawing utilizing 2D images is called photogrammetry. It is not necessary to be photogenic when taking photos for conservation data; the only requirement is that the thing be photographed from as many perspectives as possible because a software program will process all of the amassed photos from every aspect that is feasible. The outcome in a 3D image will be more precisely and elaborately rendered. Drones will be utilized for this task to capture pictures all around objects and buildings in order to use in the field work of conservation and prevention. Using an attached-camera-drone is more convenient than using a phone-camera or DSLR because it requires only one drone to be done, whilst using a phone-camera asks for more. To do so, the drone needs to hover in a dome shape so it can collect all the aspects of Wat Chaiwatthanaram. Then, in order to use all the photos, we gathered in other conservation techniques, and we must render them all into 3D images.
ในครั้งนี้ นักศึกษาฝึกงานได้ลองใช้ทั้งโดรนและโปรแกรมประมวลผลที่ใช้ในการทำงานจริง โดยเริ่มจากที่พี่มอฟ ได้ให้ความรู้ในเบื้องต้นก่อนว่าโปรแกรม ฯ ที่ใช้ในการประมวลผลภาพ ๓ มิติในปัจจุบันมีอะไรบ้าง และให้ดูตัวอย่างงานที่เคยทำมา ถัดมาจึงให้นักศึกษาฝึกงานทดลองการสร้างแบบจำลองง่าย ๆ ด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปกล่อง โดยทำการถ่ายสองแบบคือ แบบแรกถ่ายแบบละเอียด ครบทุกจุดมุมของวัตถุ กับแบบที่สองคือถ่ายเพียงบางจุดมุมของวัตถุ เมื่อถ่ายเสร็จก็นำรูปที่ได้มาประมวลผลเพื่อดูความแตกต่างระหว่างการถ่ายแบบละเอียดกับการถ่ายเพียงบางจุด จากนั้นจึงให้นักศึกษาฝึกงานได้ทดลองการใช้โดรนถ่ายภาพจริง โดยก่อนทำการถ่าย จะมีการสาธิตการใช้อุปกรณ์ก่อน เมื่อถ่ายเสร็จแล้วจึงนำภาพที่ได้มาประมวลผลด้วยโปรแกรม ฯ อีกครั้ง จึงเป็นอันเสร็จสิ้นการสร้างแบบจำลอง ๓ มิติด้วยเทคนิคการบินโดรนและโฟโตแกรมเมตรี
In this time, interns had tried to use the drone and the program by starting of be given information from P’ Moff, the architect about how the program works, how many programs can be interchangeable, showing illustrations, and then we did easy 3D model ourselves by using phone-camera. We took many pictures of the box. We attempted to accomplish this in two ways. The first was to carefully photograph the object from every angle possible. The second is to take photos from some angles of the object. The reason why we have to do two different styles is because we can see the difference of the result that which one is more practical. Afterwards, we tried it with the real drone. Firstly, a demonstration is provided. Secondly, it is to take photos all around the object we want. Lastly, it is to render all the 2D photos into 3D models.
ในฐานะนักศึกษาฝึกงานคนหนึ่งของโครงการวัดไชยวัฒนาราม ผมอยากจะขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดโครงการฝึกงานนี้ขึ้นมา สำหรับกิจกรรมนี้ต้องขอบคุณพี่มอฟหรือคุณนฤดม แก้วชัย สถาปนิกจากกรมศิลปากรที่มอบโอกาสให้กับนักศึกษาฝึกงานได้มาเรียนรู้การใช้งานโดรน และฝึกโปรแกรมโฟโตแกรมเมตรี เรียนรู้เทคนิคและเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้งานจริงในการทำงานอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ผมจะเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกงานในครั้งนี้ให้ได้มากที่สุดเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีและพัฒนาองค์ความรู้อย่างยั่งยืนสืบไป
I would like to thank everyone who helped with this AFCP Wat Chai internship on behalf of the interns, especially for this activity, Mr. Narudom Kaewchai for giving us the chance to practice using photogrammetry and drones. It is beneficial to be aware of the current conservation techniques and equipment being used for this tangible heritage. To raise awareness sustainably about the need to preserve them in the modern era and how to do so, I will undoubtedly share this knowledge with my community as widely as I can to make a better understanding about conservation work.
Comments