top of page
รูปภาพนักเขียนคิดอย่าง

หอไตรวัดใหญ่ท่าเสา

วัดใหญ่ท่าเสา บ้านท่าเสา ตำบลท่าอิฐ เมืองอุตรดิตถ์ มีหอไตรหลังหนึ่ง เดิมอยู่ติดกับศาลาการเปรียญ ก่อนจะได้รับการบูรณะ และแยกออกมาตั้งเป็นเอกเทศ หอไตรหลังนี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา

ที่มา - ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม


ตัวหอไตร มีขนาดกว้าง 3.15 เมตร ยาว 4.40 เมตร

ด้านกว้างแบ่งเสาเป็นสองช่วง

ด้านยาวแบ่งเป็นห้าช่วง


เสาเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่ออิฐ ขึ้นไปรับ รอด ตง เสาไม้ และพื้นด้านบน ซึ่งเป็นเครื่องไม้ทั้งหมด

ส่วนใต้ถุนสูง 2 เมตร


ที่มา - ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร

ผนังอาคารเป็นฝาปะกน ตั้งอยู่บนพรึงไม้แกะสลักเป็นฐานสิงห์ มีช่องประตูสองช่องทางด้านหน้า

ส่วนตัวเรือน วัดจากพื้นถึงหลังขื่อสูง 2.50 เมตร

หลังคาหอไตรซ้อนสองชั้น เป็นชายคาปีกนกรอบอาคาร จั่วชักมุขประเจิดลดระดับลงมาอีกชั้นหนึ่ง หน้ามุขเชิดขึ้น ทรงจั่วชะลูด ส่งปลายจั่วด้วยกำลังแรง เครื่องลำยองเป็นแบบท้องถิ่น ช่อฟ้าคล้ายอย่างโหง่วของสถาปัตยกรรมลาว หรืออาจเป็นรูปแบบของช่อฟ้าดั้งเดิมที่ใช้กันในสมัยอยุธยาตอนกลาง ซึ่งรูปแบบยังคงตกค้างอยู่ในแถบนี้


ที่มา - ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร

ด้านบันด้านหน้าเป็นก้านขด แตกช่อเป็นกินนรรำ มีหน้าราหูคาบท่อนก้านขดที่กลางหน้าบัน ฝีมือทำให้นึกถึงลายบานประตูวิหารร่มพระแท่นศิลาอาสน์ที่ถูกไฟไหม้ไปแล้ว


หน้าบันด้านหลังเป็นก้านขด แตกลายเป็นกนกช่อหางโต ประดับกระจก


ที่มา - ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร

โครงสร้างหลังคา ส่วนชายคาปีกนกเป็นระบบจันทัน ส่วนจั่วเป็นเครื่องประดุ ชุดหลังคาจากใต้ขื่อ ถึงหลังอกไก่สูง 2.75 เมตร

ที่มา - วิทยานิพนธ์ การศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยแบบมีมุขประเจิด : ชลอ กาเรียนทอง

แม้ว่าจะได้รับการซ่อมแซมแล้ว แต่องค์ประกอบต่าง ๆ ยังอยู่ในสภาพดี ไม่ได้รับการแก้ไขมากนัก เป็นมรดกสถาปัตยกรรมชิ้นสำคัญของชาติที่น่าชมมากชิ้นหนึ่งครับ


 

ที่มาภาพ

ที่มา ภาพถ่ายเก่า - ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร

 

โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด

Bình luận


bottom of page