top of page
รูปภาพนักเขียนคิดอย่าง

สี่แยก ต้องรอด


สี่แยก ต้องรอด
โดย รักธกาลป์ ทิมจิตต์


 

#คิดอย่างเจอนัล นักหัดเขียน ss.2

“ผู้ไร้เสียงในสถานการณ์ COVID”


 

.

การใช้พื้นที่สี่แยกตามหลักแล้วนั้นแน่นอนผิดกฎหมาย เนื่องจากไม่ใช่พื้นที่เพื่อการขายของ มีไว้เพื่อสัญจรรถ ตามพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เรื่องการห้ามประกอบการค้าบนผิวการจราจร มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท การขายของบนถนนนั้นผิดกฎหมายทั้งคนซื้อและคนขาย

.

กฎหมายตามสี่แยกห้ามพ่อค้าแม่ค้าขายของก็จริง แต่ตามหลักมนุษยธรรม บ่อยครั้งเมื่อตำรวจเห็นก็จะไม่จับ เนื่องจากไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ทั้งหมด และเป็นการเอื้ออาทรให้กับพ่อค้าแม่ค้าเพื่อเลี้ยงชีพ คนทั่วไปที่สัญจรมาก็เพื่อความสงสาร ผู้ขายบางคนต้องหลบหนีเมื่อเจอตำรวจ เมื่อตำรวจไปก็กลับมาขายต่อเพื่อหารายได้ ทั้งนี้ส่งผลต่อการจราจรแน่นอนจากการซื้อขายการทอนเงินที่ล่าช้า หรือไฟเขียวพอดี อาจทำให้เกิดการตัดหน้ารถหรือทำให้การจราจรติดขัด ทั้งเสี่ยงอันตรายก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และหากเปิดกระจกซื้อขายกันก็ยิ่งเสี่ยง

.

ในปัจจุบันมีการขายของตามสี่แยกเป็นอย่างมากในสังคมไทย เหตุซึ่งมาจากการตกงาน ไม่มีงานทำขาดรายได้ในการเลี้ยงชีพ อีกทั้งยิ่งเจอการแพร่ระบาดของ COVID - 19 ก็ยิ่งทำให้คนตกงาน เพราะฉะนั้นคนจำนวนไม่น้อยที่จำเป็นต้องมาขาย ทั้งที่รู้ว่าผิดกฎหมาย หรือดูไม่ดี แต่แล้วก็ต้องทำเพื่อให้ตนเองมีชีวิตอยู่รอดต่อไป แต่อย่างไรก็ตามสี่แยกเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจเพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ขายขายผู้ซื้อได้โดยตรง แถมผู้ซื้อก็หนีไม่ได้เนื่องจากติดไฟแดง และทำให้มีโอกาสในเรื่องของการตลาดต่อไป


 
ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ เราต้องสู้
 

เคสนี้อยู่ที่ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เป็นน้าและหลานสองคนช่วยกันเดินเร่บริเวณสามแยกเพื่อขายผัก จากการที่ได้ไปสอบถาม ก่อนหน้าที่จะเกิดการแพร่ระบาดของ covid19



“น้าเป็นพนักงานรับจ้างทั่วไปมาก่อนลูก รับทุกงานไม่ว่าจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ รับทำอาหารงานบุญหรือแม้กระทั่งรับสอยลูกมะม่วง รายได้ไม่แน่นอนแล้วแต่รายวัน เลิกกับผัวไปทำให้ต้องหาเงินคนเดียวเลี้ยงลูกอีกสองคน” แสดงถึงคุณภาพชีวิตของคนที่ต่างกัน ต่างคนมีชีวิต เจอปัญหาที่แตกต่างกันไป


“ตั้งแต่มี COVID งานตอนนี้ก็ไม่มี หายไปหมด ไม่มีคนจ้างเนื่องจากคนเค้าก็ใช้เงินเท่าที่จำเป็น จ้างงานเฉพาะงานสำคัญ จากที่ไม่ค่อยมีเงินอยู่แล้วก็น้อยลงไปอีก ทำให้ต้องหาทางเพื่อหาเงินมาใช้หนี้นอกระบบรายวันที่กู้ยืมเขาไป” หลานกล่าว


ตัวน้าเองนั้น ก่อนหน้านี้เป็นภรรยาของนายทหารที่ร่ำรวยมีกินมีใช้ แต่พักหลังก็ได้ติดสุรา และติดการพนัน ใช้เงินฟุ่มเฟือย มีโรคประจำตัวจนเสียชีวิต รายได้จากสามีก็หายไป ต้องหาเงินเลี้ยงดูตัวเองคนเดียว ก็ได้ปรึกษากับหลานว่า “ควรหาอะไรมาขาย” เพื่อหาเงิน หากไม่ทำอะไรเลยก็ไม่มีเงินมาใช้หนี้ เลยคิดว่ามาขายของหน้าบ้านริมถนนนี่แหละ

.

คนเรามีต้นทุนชีวิตที่ต่างกัน เลือกเกิดไม่ได้ ไม่ใช่ทุกคนที่จะเกิดมาแล้วรวยหรือมีทุกอย่างที่ต้องการ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องทำ ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีเงิน

.

น้ามองเห็นว่าพื้นที่สี่แยกเป็นที่ๆ มีคนพลุกพล่านมากที่สุด เป็นแยกบริเวณชุมชนที่ไม่ใหญ่นัก มีรถคนสัญจรไปมาตลอดเวลา คนผ่านตาเห็น ผู้คนเลี่ยงที่จะไปพื้นที่แออัด ไม่ว่าที่ใดก็เป็นพื้นที่เสี่ยง ทำให้คนที่อยู่ในรถไม่ต้องลงไปซื้อ เป็นอีกสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนที่ไม่สามารถลงจากรถมาซื้อ น้าได้บอกว่า

“น้าก็ค่อนข้างรู้จักคนระแวกแถวนี้เย้อะ เพราะเกิดที่นี่ และโตมาพร้อมๆกับหลายๆบ้าน พอลูกหลานเขาขับรถผ่านเขนก็แวะมาทักทาย และมาช่วยอุดหนุนน้า”


“บ้านเราก็อาศัยอยู่กับน้องมาตั้งตั้งแต่เกิด ที่เป็นที่ของน้อง อยู่ติดถนนพอดี” น้ากล่าว

ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาและเงินที่จะไปเช่าที่ขายของ เนื่องจากน้าและหลานเป็นคนหาเช้ากินค่ำ ไม่มีหลักแหล่ง ดูแล้วน่าจะขายได้ และยังอยู่หน้าบ้านอีกด้วยไม่ต้องกังวลเรื่องห้องน้ำ ไม่ต้องไปเช่าที่และและสะดวกต่อตนเองบางคนที่สงสารน้าก็ช่วยอุดหนุน


น้าเล่าต่อว่า “ เป็นสิ่งที่คนน่าจะจะซื้อมากที่สุด เพราะแถวนี้ส่วนใหญ่มีแต่ผู้ใหญ่ คนแก่ คนแถวนี้มักทำข้าวกินเอง ถ้าจะซื้อผักคนต้องไปซื้อที่ตลาด แต่พอเอามาขายคนก็ไม่ต้องขับรถไปไกล” เป็นการนำจุดขายมาให้ละแวกชุมชน และขายได้ทุกเพศทุกวัยเพราะไม่ได้ขายผักแค่อย่างเดียว หาอะไรมาขายได้ก็เอามาขาย ไม่จำกัดทางเลือก และแตกต่างจากคนอื่น

.

สิ่งที่ตัวน้าได้นำมาขายก็คือ มะละกอ ข้าวโพด “ก็ไปตามเก็บตามท้องทุ่ง เก็บอะไรได้ก็เอามาขาย แต่ละวันของจะไม่ซ้ำกัน บางวันหาได้บางวันหาไม่ได้ และบางส่วนก็เก็บพืชผักที่มีอยู่ในบ้านมาขาย”


เป็นการปรับตัวกับยุคสมัยในการแพร่ระบาดของเชื่อไวรัส ซึ่งคนก็หันมาเปิดใจกับการมาขายตามท้องถนนมากขึ้น พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสอย่างน้อยก็ไม่ได้ไปเป็นขอทาน ต่างพากันเอาตัวรอดกับในยัคที่เศรษฐกิจไม่ดี

.

เร่ขายไปจนคิดว่าน่าจะต้องหาที่พักพิงเพื่อกันแดดกันฝน และเพื่อลดความเหนื่อย ก็ได้ให้ที่รู้จักเพื่อนบ้านที่สนิทมาช่วยทำที่พักพิงเป็นเพิงเล็กๆ และยังสำรองพืชผัก หรือสำรองของที่นำมาขายได้จนตรงนั้นเป็นเหมือนที่ๆ แบบชาวบ้านมีอะไรก็เอามาวางมาฝากขายแล้วน้าและหลานก็ได้เงินค่าจ้างหรือเงินส่วนต่างที่ชาวบ้านนำมาฝากขายนิดหน่อย 10 บาท 20 บาทก็เอา ในส่วนของตัวน้านั้นคิดว่าจะพอขายได้แน่นอนเพราะว่ามีเพื่อนบ้านที่พอรู้จักช่วยอุดหนุน อาจจะได้มากได้น้อยแต่ก็มีรายเข้ามาจุนเจือ หรือคนที่ขับผ่านมาแวะซื้อเป็นเจ้าประจำ

.

“น้าไม่รู้สึกอายที่จะขาย” เพราะถ้าอายก็อดตายในบ้านเมืองที่เศรษฐกิจแบบนี้ ซึ่งก็ไม่เคยเหนื่อยเท่านี้มาก่อน เพราะชีวิตเลือกไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะต้องเดินวิ่งไปมา ต้องดิ้นรนมีชีวิตอยู่ต่อเพื่อภาระหนี้สิน และครอบครัว บางวันก็ขายได้บางวันก็ขายไม่ได้ แต่ก็ต้องทำต่อไป มีงานให้ทำดีกว่าอยู่เฉยๆ รอวันที่บ้านเมืองจะดีกว่านี้ หลานได้บอกว่า


“หาอะไรมาขายได้ก็ต้องขายไป เงิน 5 บาท 10 บาทก็ต้องเอา เราไม่มีต้นทุนที่ดีเหมือนคนอื่นเขา ก็ต้องทำไปอย่างนี้นี่แหละ” และขายมาจนคิดว่าต่อไปอาจจะเป็นอาชีพประจำของทั้งคู่แล้ว



 
นักเรียนช่วยพ่อแม่ฝ่าวิกฤติโควิด
 

ที่กรุงเทพฯ มีแยกที่ค่อนข้างใหญ่แยกนึง รถสัญจรไปมาอย่างล้นหลามไม่ขาดสาย ได้มีสองพี่น้องคู่หนึ่งเดินแร่ขายน้ำบีทาเก้นเป็นโหล เดินขายผ่านรถที่ละคันกลางสี่แยก



สองพี่น้องช่วยพ่อแม่หาเงินเนื่องจากพ่อแม่ไม่รู้ว่าจะทำอาชีพอะไร ตกงานจากสถานการณ์ COVID - 19 จากที่มีงานรับจ้างอยู่ก็หายไป จึงต้องมาขายแบ่งเบาภาระพ่อแม่ น้องได้เล่าว่า พ่อแม่ผมก็ได้ขายน้ำบีทาเก้นด้วย แต่ว่าแยกไปคนละสี่แยก เพราะถ้าอยู่ที่เดียวกันก็จะหาเงินได้น้อย” เสมือนการกระจายการขาย และช่วยกันหาเงิน


“ตอนแรกก็มีหน้าที่เรียนอย่างเดียว แต่พอเห็นพ่อกับแม่เหนื่อยกันอยู่สองคน รายได้ไม่ค่อยแน่นอน บางวันก็ได้เงินบางวันก็ไม่ได้เงิน เลยคุยกันกับน้องเสนอตัวกับพ่อและแม่ว่าจะช่วยหางานทำเพื่อช่วยกันหาเงินอีก”

มุมมองของครอบครัวที่ต้องช่วยกันหาเงิน ไม่ว่าตนเองจะเด็กขนาดไหนก็ต้องช่วยครอบครัวหาเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีสำหรับการแบ่งเบาภาระพ่อแม่ ไม่ให้พ่อแม่เหนื่อยแต่เพียงลำพัง เพื่ออนาคตชีวิตที่ดีขึ้น น้องบอกว่า” พ่อและแม่เป็นคนบอกให้มาขายในบริเวณนี้ เพราะรถขับไปมาเป็นอย่างมาก” พื้นที่สี่แยกอรุณอมรินทร์นี้นั้นรถสัญจรไปมาอย่างไม่ขาดสาย และสามารถขายได้อย่างไม่ซ้ำคน ต่างกับการขายในพื้นที่ชุมชนของน้าและหลาน เพราะเป็นเมืองที่ใหญ่

.

น้องเล่าต่อว่า “ที่ผมขายได้น่าจะเพราะคนสงสารเป็นส่วนใหญ่ เพราะว่าเวลาผมมาขายก็จะต้องชุดนักเรียน คนจะได้รู้ว่าเรากำลังเรียนหนังสืออยู่ และมาหาเงินทำงานเสริมเพื่อช่วยพ่อแม่”

เสมือนเปนการทำให้คนสงสารอย่างนึงเพราะชุดสามารถทำให้เป็นที่สนใจสำหรับผู้คน แปลกใหม่ คนก็มาช่วยอุดหนุน สะดุดตา และสร้างสตอรี่ สร้างกิมมิคให้ตนเอง เมื่อคนมาเห็นก็เกิดความน่าสงสาร น่าเห็นใจและเมื่อใส่ชุดที่ดูสะดุดตานั้นทำให้ยอดอุดหนุนนั้นเพิ่มมากขึ้น


น้องทั้งสองได้เล่าว่า “พ่อกับแม่ผมก็ขายน้ำบีทาเก้น เลยเลือกให้ขายเหมือนกันเพราะไปรับมาขายพร้อมกันทีเดียว ไม่ต้องเสียเวลาไปรับอย่างอื่นมาขาย” โดยน้องขายทุกวันแต่ก็ไม่ได้ขายได้ตลอด ขายเป็นเวลาพอประทังชีวิต บางวันขายได้บางวันก็ขายไม่ได้เพราะบางคนก็ไม่ได้กินนมเปรี้ยวและไม่ได้กินยี่ห้อนี้


ในการเก็บน้ำก็จะมีกระติกพกพาใส่น้ำแข็งสะพายใหล่ไว้ ซึ่งได้ถามไปว่าถ้าน้ำแข็งมันละลายแล้วจะไปหาน้ำแข็งจากไหนให้น้ำเย็น ทางน้องบอกว่า “ปล่อยไปเลยให้ไม่เย็น เพราะว่ายังหาวิธีแก้ไม่ได้และเปลืองค่าน้ำแข็ง เพราะบางเวลาก็ขายไม่ได้เลย และแดดก็ร้อนทำให้น้ำแข็งละลายไวมาก” “พอฝนตกก็ไปหาที่ที่มีหลังคาคลุมกันฝนไปขอพักพิง”

ไฟเขียวก็ยืนอยู่ตรงเกาะกลางระหว่างถนนหรือไม่ก็ตรงส่วนหย่อมเล็กๆบริเวณสี่แยก พอไฟแดงก็ออกมาเดินเร่ขาย

.

“ก็มีกลัวบ้างครับ แต่ส่วนใหญ่แล้วตำรวจจะเห็นใจให้ขายต่อไปเพราะเห็นผมช่วยที่บ้านหาเงิน อย่างน้อยก็ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น ถึงแม่จะขายกลางถนนแต่ก็ระมัดระวังอุบัติเหตุและเมื่อไฟเขียวก็รีบเดินออก”


ซึ่งตัวน้องก็ได้บอกว่า “น่าจะต้องทำไปเรื่อยๆ ต่อไปเพราะต้องช่วยที่บ้านหาเงิน หาเงินมาจ่ายค่าเทอม เพราะตอนนี้เงินที่บ้านแทบไม่มี ค่ากินก็ต้องประหยัดและแถมยังเรียนออนไลน์ต้องซื้อโทรศัพท์มาเรียนและจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตทุกเดือน ไม่ว่าจะเหนื่อยแค่ไหน ถึงแม้ว่าฝนจะตกแดดจะร้อนเพียงใดก็ต้องทนสู้ อดข้าวอดน้ำก็ต้องยอม” จากที่น้องได้เล่ามานั้น เพื่อสู้ต่อปัญหาชีวิตของครอบครัว เพื่อให้ได้เงินมา ไม่ว่าจะลำบากเท่าไหร่ก็ต้องทำ เพราะเราเลือกอาชีพให้กับเราไม่ได้



“ผมไม่อายที่จะช่วยพ่อแม่ผมหาเงิน เพราะถ้าผมอายผมก็ไม่มีเงินมาเลี้ยงตัวเองเลี้ยงน้องและพ่อแม่ ผมดีใจมากกว่าอีกที่ได้ทำประโยชน์ให้พ่อกับแม่ผม” น้องได้กล่าวทิ้งท้าย



 
เหนื่อยแค่ไหนก็ไม่หวั่น
 

“เมื่อก่อน แฟนป้าทำงานเป็นช่างก่อสร้างในบริษัทรับเหมา เวลาที่ไหนมีงานจ้างก็ไปทำกะเขาเป็นทีม ส่วนป้าก็อยู่บ้านเลี้ยงดูลูก แต่จากนั้นในบริษัทของแฟนป้ามีคนติดโควิด ทำให้แฟนป้าติดโควิดตามไปด้วย ต้องไปอยู่ในแคมป์ทำให้แฟนป้านั้นไม่มีเงินจากการทำงานเพราะได้เงินเป็นรายวัน ป้าเลยต้องออกมาหาเงินแทน”

“บ้านป้าเข้าไปในซอยไม่ไกลนี่เอง เดินออกมาไม่ไกลก็ถึงถนนแล้ว ไม่ต้องไปเช่าที่เขา เช่าที่ไปก็ไม่รู้จะขายได้ไหม เห็นคนเขาเคยมาขายสี่แยกนี้ก็เลยมาขายบ้างดีกว่า ไม่ต้องไปไกลจากลูกด้วย และคนก็สัญจรเย้อะ” ป้ากล่าว


ทำให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่ที่มาขายนี้มักจะเลือกขายบริเวณสี่แยกที่อยู่ใกล้บ้าน หรือสี่แยกที่มีจำนวนคนมากมาย เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายิป้าเล่าต่อว่า “มะม่วงเราไปซื้อต่อเขามา แต่เราต้องไปสอยเองได้ราคามาถูก ส่วนถั่วต้มป้าต้มเองเพราะทำง่ายและไม่ยาก ขายหลายๆอย่างจะได้ได้เงินมากหน่อย มาลัยป้าก็พึ่งมาเริ่มทำใหม่เพราะเมื่อก่อนตอนสาวๆ ป้าเคยทำ”

.

คนเราเมื่อเกิดเหตุจำเป็นที่จะต้องหาเงินเพื่อเลี้ยงชีพ เรามักจะทำสิ่งที่เราถนัดหรือหาสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมาขายเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว เพราะสามารถทำและขายได้ทุกวันไม่ต้องกลัวว่าวันนี้กรือวันพรุ่งนี้จะขายสิ่งใด


“ก็มีกลัวบ้างนะ แต่ถ้าไม่ขายก็ไม่มีเงินกิน “ ป้ากล่าว คำพูดนี้สะท้อนว่าไม่ว่าจะลำบากหรือกลัวแค่ไหนก็ต้องทำ เป็นสิ่งที่หลีกไม่ได้เนื่องจากคนเรามีต้นทุนที่ไม่เท่ากัน


“ไม่รู้ว่าพอแฟนป้าหายจากโควิดแล้วจะยังช่วยหาเงินได้เหมือนเดิมมั้ย น่าจะต้องทำแบบนี้ไปก่อน อนาคตก็ไม่แน่นอน” ป้ากล่าวทิ้งท้าย

.

ในสมัยก่อนนั้นเราจะเจอแต่คนที่ขายพวงมาลัยกลางสี่แยก แต่สมัยนี้แล้วนั้นไม่ได้มีบายแค่พวงมาลัยแล้ว กับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อนและเศรษฐกิจที่แย่ลง ทำให้คนต้องหาหนทางในการขายของมากขึ้นทั้งประหยัดค่าเช่าที่และสามารถเข้าถึงผู้คนหรือเข้าถึงลูกค้าได้เลย ยังช่วยเพิ่มสีสันในท้องถนนและคนที่ขับผ่านแต่ไม่สะดวกลงไปซื้อ


เมื่อก่อนคนส่วนใหญ่จะตัดสินคนที่ขายตามท้องถนนเห็นอะไรก่อนก็ตัดสินดูถูกคนจน คิดว่าคนที่มาขายนั้นเป็นคนที่ไม่มีหลักแหล่งไม่มีบ้านอยู่ มาขายความสงสาร ถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ไม่มั่นคงแต่ตอนนี้นั้นไม่ใช่แล้วคนที่มาขายนั้นเป็นคนที่ตกงาน หรือขาดรายได้ เสมือนการสลัดภาพเมื่อก่อนที่งไปว่าคนที่มาขายตามท้องถนนนั้นจะเป็นคนไร้บ้าน โควิดทำให้คนเห็นคุณค่าของเงินมากขึ้น เปิดใจมากขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะทำอาชีพใดอาชีพนั้นย่อมมีคุณค่าในตัวเอง และอย่าดูถูกคนอื่น

.

แต่บางคนก็ไม่ชอบที่ผู้ขายมาเดินเร่เพื่อขายตรงถึงบริเวณรถ ไม่มีกฏระเบียบของสังคม เพราะเมื่อไฟเขียวก็ทำไปรถติดเนื่องจากต้องรอตังทอน และอาจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ บางคนมีธุระรีบร้อนก็ทำให้เสียเวลาในส่วนนี้ไป แต่ก็เป็นการเอาตัวรอดดีกว่าการมาเป็นขอทานเพื่อขอเงินอย่างเดียว เพราะถ้าเราไม่ขายเราจะใช้ชีวิตอยู่ต่อได้อย่างไร


ทุกคนเลือกเกิดไม่ได้ที่จะทำอะไร แต่แล้วเขาก้เลือกทำอาชีพที่สุจริตเพราะของที่นำมาขายก็ต้องลงทุน แต่อาจจะผิดกฎหมาย

.

ในปัจจุบันนี้คนที่ไม่มีทางเลือกของชีวิตมีมากมายอย่างนับไม่ถ้วน ไม่สามารถเลือกได้ คนหลายคนพยายามหาหนทางหรือต้องการชีวิตที่ตนเองไม่มี ต้องการชีวิตที่ดีกว่าเก่า เอาตนเองเข้ามาเพื่อหาโอกาสให้คนเห็นอกเห็นใจ เนื่องจากสถานการณ์โควิดบีบบังคับ แต่การไขว่ขว้านั้นแล้ว ไขว่ขว้าอย่างไรก็เอื้อมไม่ถึง เพราะต้นทุนชีวิตและหลายๆ สิ่งไม่เอื้ออำนวย ซึ่งคนเรานั้นเลือกเกิดไม่ได้ อยู่ที่ว่าเรานั้นจะหาหนทางอย่างไรเพื่อชีวิตที่ดีกว่าเก่า ทำให้บุคคลจำนวนมากต้องยอมทำสิ่งที่ตนอาจจะไม่ชอบ หรือไม่เคยทำมาก่อนเพื่อเงินในการมีชีวิตรอด


คนเราล้วนอยากมีงานที่มั่นคงเพื่อเป็นหลักประกันชีวิต เนื่องจากคนทุกคนไม่ควรมาลำบาก ในขณะที่มีคนจำนวนมากที่ชีวิตมีทางเลือกไม่มากนัก แม้ว่าจะพยายามเกินร้อยแล้วก็ตาม



“แต่เราจะอยู่กับเศรษฐกิจแบบนี้ได้อย่างไร ก็อยู่ที่เราว่าเราจะดิ้นรนเพื่อหาเงินหรือไม่”

ดู 338 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page