top of page
รูปภาพนักเขียนคิดอย่าง

สัมภาษณ์ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 คุณสุกัญญา เบาเนิด กับบทบาทสำคัญในโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม

#คิดอย่างชวนคุย ถือฤกษ์ดีวันสงกรานต์ชวนทุกคนมาอ่านบทสัมภาษณ์สุด exclusive กัน วันนี้เรามีโอกาสได้สัมภาษณ์ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 คุณสุกัญญา เบาเนิด กับบทบาทหน้าที่สำคัญของกรมศิลปากรในโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม โครงการต้นแบบงานอนุรักษ์โบราณสถานอย่างยั่งยืนในประเทศไทย


An interview with the Director of the 3rd Regional Office of Fine Arts Department, Sukanya Baonerd about her important role in Wat Chaiwatthanaram Conservation Project, a model project for sustainable historical preservation in Thailand.


หลายคนที่สนใจงานอนุรักษ์โบราณสถาน คงได้ยินได้ฟังถึงโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร กองทุนโบราณสถานโลกและสถาทูตสหรัฐอเมริกา และวันนี้เราได้รับเกียรติจากคุณสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการ นอกจากเป็นเรี่ยวแรงสำคัญตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ จนตอนนี้งานได้ดำเนินมาจนเข้าสู่ปีที่สิบแล้ว อีกทั้งหลายคนคงยังไม่ทราบว่าคุณสุกัญญา เบาเนิดถือเป็นผู้ริเริ่มให้เกิดกระแสการแต่งกายชุดไทยที่วัดไชยวัฒนาราม จนเป็น iconic ของโบราณสถานแห่งนี้อีกด้วย เราชวนอ่านบทสัมภาษณ์พิเศษชิ้นนี้กัน


Some people interested in historical preservation might have heard about the Wat Chaiwatthanaram Conservation Project, a collaboration between the Fine Arts Department of Thailand, World Monuments Fund, and U.S. Embassy in Bangkok. Today, we had an honor to interview Sukanya Baonerd, Director of the Fine Art Department’s 3rd Regional Office, about the project. Besides being an important participant of the project since the beginning until its 10th year today, Sukanya Baonerd was also the trend setter of wearing traditional Thai costume at Wat Chaiwatthanaram until it has become iconic of the site. Let’s enjoy this special interview.


บทบาทหน้าที่หลักของกรมศิลปากรในโครงการนี้มีอะไรบ้าง

สำหรับโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์โบราณสถานวัดไชยวัฒนารามก็เป็นโครงการร่วมระหว่างกรมศิลปากรและกองทุนโบราณสถานโลก ซึ่งหน้าที่หลักของกรมศิลปากรในโครงการนี้ก็จะเป็นการจัดทีม ตั้งเป็นคณะทำงานร่วม ซึ่งมีคณะทำงานร่วมทั้งสองฝ่าย ฝ่ายกรมศิลปากร และฝ่ายยกองทุนโบราณสถานโลก ระดมผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาเข้ามาร่วมทำงาน เหมือนกับว่าเป็นการจัดให้เกิดเวทีการแลกเปลี่ยน การทำงานร่วมกัน เช่น การจัดประชุมคณะทำงาน การลงพื้นที่ร่วมกันในการทำงานโครงการนี้


What are the FAD's main roles in this project?

Wat Chaiwatthanaram conservation project is a collaboration between the Thai Fine Arts Department (FAD) and the World Monuments Fund (WMF). The FAD’s main role was setting up a committee formed by two bodies, one from the Fine Arts Department and another from the World Monuments Fund. We gather experts from different disciplines to work together. It is like an exchange platform. For example, we arrange meetings and worksite visits to Wat Chai.



ระหว่างการทำงานมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันมากน้อยเพียงใด เรื่องใดที่น่าสนใจบ้าง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไปได้หรือไม่ หรือช่วยเพิ่มองค์ความรู้ ต่อยอดมุมมองใหม่ๆ ของคณะทำงานจากกรมศิลปากรได้อย่างไรบ้าง

การทำงานที่วัดไชยฯ มีความน่าสนใจด้านงานอนุรักษ์ เนื่องจากว่ามีความครบถ้วนในหน้างานเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นงานอิฐ งานปูน งานไม้ งานจิตรกรรม งานปูนปั้น เป็นห้องปฏิบัติการ ห้องเรียนในการฝึกผู้เชี่ยวชาญ ฝึกผู้ร่วมงานทั้งสองฝ่าย ซึ่งก็คือกรมศิลปากรและกองทุนโบราณสถานโลก ก็จะจัดทีมผู้เชี่ยวชาญเข้ามา ทางฝั่งกรมศิลปากรก็จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เข้ามาร่วม ในส่วนของทางกองทุนโบราณสถานโลกก็จะมีผู้เชี่ยวชาญทางสาขาต่างๆ อันนี้เราก็จะมาแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการร่วมกัน เช่น เทคนิควิธีการ บางงานอนุรักษ์อย่างงานไม้ งานจิตรกรรม งานประติมากรรม กรมศิลปากรมีช่างผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ มีองค์ความรู้ ก็จะถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้กับทางกองทุนโบราณสถานโลก ในขณะเดียวกันทางโบราณสถานโลกก็จะมีผู้เชี่ยวชาญในงานอิฐและงานปูน ก็จะแลกเปลี่ยน ส่วนงานวิทยาศาสตร์ก็จะเป็นการทดลองเพื่อหาข้อสรุปและข้อตกลงร่วมกันในเรื่องของการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ ในทุกๆ หน้างานที่เป็นงานอนุรักษ์ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนอย่างเท่าเทียมกัน


Have there been any exchanges of preservation knowledge? Any interesting topics? Can they be applied to other sites? How do the FAD committee utilize them for new ideas?

At Wat Chai, there are interesting conservation works because the site has almost every type of materials/works (brick, stucco, wood, wall paintings, and sculpture). The site is like a laboratory and a conservation classroom for both FAD and WMF workers to train in. On the other hand, WMF also has their experts who we exchange on some topics such as conservation techniques. We share our knowledge and practice with WMF. At the same time, in exchange, WMF specialists who work with bricks and mortar share with us what they know. As for the scientific part, we run testing to reach conclusions and agreements on the choice of materials and tools. In every conservation work, we have an equal exchange.


ในมุมมองของตัวแทนจากกรมศิลปากร การทำงานร่วมกันระหว่างกองทุนโบราณสถานโลก กรมศิลปากร และช่างฝีมือชาวไทย มีความท้าทายมากน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างความท้าทายที่สำคัญที่สุด

เริ่มต้นน่าจะเป็นเรื่องปรัชญา/หลักการอนุรักษ์ที่นำมาพูดคุยกัน ว่าตรงจุดนี้เราจะประสานความเข้าใจอย่างไรว่าการอนุรักษ์วัดไชยฯ จะทำในระดับไหน เป็นสิ่งแรกที่จะต้องมาคุยให้เข้าใจตรงกันชัดเจน ต่อจากนั้นจึงลงไปที่เทคนิคและวิธีการที่จะนำไปสู่หลักการนั้น นี่ก็เป็นความท้าทาย เนื่องจากกรอบการอนุรักษ์ระหว่างกรมศิลปากรและกองทุนโบราณสถานโลก ถ้าไม่ได้เอามาคุยกัน ในขั้นตอนของการร่วมคิดร่วมตัดสินใจที่จะทำอะไรในพื้นที่มันก็จะเกิดการทำงานที่ไปกันคนละทาง ไม่ได้ไปทางเดียวกัน เนื่องจากว่าโครงการนี้เป็นลักษณะของโครงการร่วม มีการแลกเปลี่ยนเทคนิคองค์ความรู้ด้านต่างๆ สิ่งไหนที่่ทางกองทุนโบราณสถานโลกไม่เชี่ยวชาญหรือชำนาญ ก็จะใช้กรมศิลปากรถ่ายทอดความรู้ให้ ส่วนที่เป็นงานอิฐงานปูน ทางกองทุนโบราณสถานโลกมีผู้เชี่ยวชาญมาฝึกผู้ที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นช่างฝีมือคนไทย เข้าไปร่วมทีมด้วย ถือว่าเราได้ทั้งองค์ความรู้และได้ฝึกคนที่จะทำงานด้านอนุรักษ์ต่อไป


As FAD representative, what are the challenges in the cooperation between WMF staff, FAD officials, and Thai technicians?

To start off, it might be the principle of conservation. We had to discuss and clearly understand which level of conservation should be taken at Wat Chai. This was the first thing that we needed to reach a mutual understanding. Then, it was narrowed down to techniques and methods that would lead to the agreed principle. This was also a challenge because if FAD and WMF hadn’t discussed their work frames, planning and deciding together what to do to the site, the implementations would have gone separately, not in the same direction. As this is a partnership project, exchanges in various fields have been made both ways. In what WMF is not experienced, for the example; Thai traditional lacquer work, FAD contributes by sharing their knowledge. On the other hand, brick and stucco professionals from WMF helps train the project staff team, mostly formed by Thai technicians. In short, we both learn and train local people who will continue to work in the field conservation.


หลักสำคัญที่กรมศิลปากรยึดถือเสมอในการทำงานคืออะไร

คือการมีส่วนร่วมของการทำงานอนุรักษ์ การมีส่วนร่วมเริ่มจากการที่ร่วมกันคิดว่าหลักการอนุรักษ์เป็นอย่างไร ร่วมกันตัดสินใจว่าวิธีการที่จะนำไปสู่หลักการนั้นต้องไปในทิศทางไหน จากนั้นจึงร่วมลงมือปฏิบัติ โดยการร่วมลงมือปฏิบัติในพื้นที่จริงอาจจะเป็นในลักษณะการไปเคียงบ่าเคียงไหล่กัน การเข้าไปสังเกตการณ์ให้คำแนะนำ การจัดเวทีการเสวนาหรืออบรมปฏิบัติการในพื้นที่จริง ในเรื่องของการทำงาน นอกจากทีมที่กรมศิลปากรและกองทุนโบราณสถานโลกจะมีร่วมกันแล้ว เรายังใช้หลักในการทำงานร่วมกันกับผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่อยู่ในวงการอนุรักษ์ ได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้งานตรงนี้ด้วย เนื่องจากการที่จะทำให้องค์ความรู้สามารถก้าวหน้าต่อไปก็ต้องมีการสืบทอดและส่งต่อ ในรูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการก็ดี การเข้าไปสังเกตการณ์ การเข้าไปทำงานร่วมกัน

What are the principles that FAD always adhere to?

The participation in conservation works that begins with forming ideas to answer what conservation principles are, making decisions on the methodology and directions towards those principles, and lastly practicing at the site. The on-site cooperation can be done as observing interventions, giving recommendations, and creating a platform for field workshops or trainings. Besides FAD and WMF’s collaborative efforts, we also work with other related stakeholders, giving them an opportunity to take part in and learn from this project. It is important for us to disseminate our knowledge in different forms, either seminars, worksite observation, or other collaborations, in order to further develop conservation ideas.


สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานโครงการอนุรักษ์วัดไชยคืออะไร

สิ่งที่ได้เรียนรู้ นอกจากเรื่ององค์ความรู้ ก็คือการได้รู้เทคนิคใหม่ๆ การที่ได้ถ่ายทอดสิ่งที่เราเชี่ยวชาญในส่วนของกรมศิลปากรไปให้กองทุนโบราณสถานโลกได้รับรู้ด้วย ที่สำคัญคือเกิดเป็นพันธมิตรของการทำงานร่วม จะทำให้เป็นต้นแบบที่อื่นต่อไป

What have you learned from this project?

Apart from theoretical knowledge, we have learned new techniques. We share our expertise with WMF. The most important thing is the partnership that will be a model for other projects.



กรมศิลปากรมีนโยบายหรือมาตรการในการป้องกันหรือรับมือภัยธรรมชาติต่างๆ ในประเทศอย่างไรบ้าง

ในเรื่องของการรับมือภัยพิบัติต่างๆ ถ้าพูดให้แคบลงไปก็จะยกตัวอย่างของอุทกภัย ซึ่งโบราณสถานหลายแห่งในประเทศไทยตั้งอยู่ริมน้ำ อย่างวัดไชยฯ ก็ประสบปัญหาที่เสี่ยงต่ออุทกภัยมาโดยตลอด หรือแม้แต่โบราณสถานที่ตั้งอยู่ในเกาะเมืองเอง เป็นมาตรการที่ไม่ใช่แค่ในส่วนของกรมศิลปากรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องโยงกับมาตรการของชาติด้วย ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันภัยพิบัติ อย่างอุทกภัยก็จะมีเรื่องของการติดตามข้อมูลจากหน่วยงานที่ให้เราเฝ้าระวัง เช่นกรมชลประทานและกรมอุตุฯ เรื่องของปริมาณน้ำฝนและการปล่อยน้ำจากเขื่อน จากนั้นหน่วยงานต่างๆ ก็จะมีภารกิจในการรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ เช่น กรมก็จะมีในส่วนของการปกป้องโบราณสถาน ถ้าเป็นในเกาะเมืองที่เป็นย่านชุมชนอาศัยอยู่ด้วยกันกับโบราณสถานก็จะมีหน่วยงานอื่นที่เข้ามาช่วยส่งเสริมและสนับสนุนในการทำงาน เช่น อบจ. เทศบาล กรมศิลปากร เนื่องจากพื้นที่ตั้งของโบราณสถานและชุมชนอยู่ด้วยกัน เช่นเกาะเมือง ถ้าเป็นนอกเกาะเมือง ถ้าเป็นโบราณสถานโดดๆ กรมศิลปากรก็จะมีอุปกรณ์และแนวทางในการป้องกันอุทกภัยหลายจุดด้วยกัน เช่นเขื่อนป้องกันน้ำแบบน็อดาวน์ พับเก็บได้หลายที่ ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเราจะใช้มาตรการนี้ก็จะต้องติดตามความเสี่ยงของปริมาณน้ำที่ปล่อยลงมา หรือปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี ต้องมีการประเมินทั้งในระยะยาว แบบหลายเดือน หรือสั้นไม่กี่สัปดาห์ที่เราจะต้องเตรียมรับมือ เป็นเหมือนกับแนวทางที่เราปฏิบัติอยู่เป็นประจำ ดั้งนั้นบุคลากรที่เรามีอยู่ก็จะฝึกฝนในทุกๆ ปีที่จะรับมือกับอุทกภัย เมื่อถึงเวลาที่เกิดความเสี่ยงด้านนี้ เรื่องของข้อมูลข่าวสารเราก็จะมีความพร้อมในการโยงกับหน่วยงานอื่น บุคลากรที่เรามีอยู่ ควบคุมดูแลอยู่ ก็มีความพร้อมในระดับนึงที่จะป้องกันอุทกภัย

What are the measures that FAD uses to prevent or deal with natural disasters in Thailand?

In dealing with various disasters, let’s use flooding as an example. Many archeological sites are located on river banks such as Wat Chai and other sites on the Ayutthaya City Island that always face the risk of being flooded. The measures that we follow are not only from the FAD but are also related with the national policy that concern the prevention of disasters. As for flooding, we keep eyes on warning information provided by other authorities such as rainfall record from the Meteorological Department and dam water discharges from the Irrigation Department. Each authority is responsible for dealing with flood situations in different areas. The FAD is in charge of protecting archaeological sites. In case of the city island, that heritage sites are in the vicinity of communities or housing areas, other authorities such as Provincial Administrative Organization and Municipality will also support. If it is a stand-alone site outside the island, FAD also has preventive measures and technology such as foldable flood barriers which were installed at many sites. Anyway, we closely study and monitor rainfall and water discharge each year and make assessment both in long term, several months, and short term, few weeks that we need to prepare. This is our regular guideline that we practice. Our personnel are trained annually to encounter the flood. Whenever a risk arises, our resources are ready and in connection with other authorities. Our staff are relatively prepared for preventing flooding.


ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในการมีส่วนร่วมกับโครงการวัดไชยฯ เป็นอย่างไร

ถ้าพูดแทนคณะทำงาน ก็เป็นความรู้สึกที่ มรดกสำคัญของชาติที่มีองค์ประกอบในเรื่องการอนุรักษ์ครบทุกด้านให้เรียนรู้ มีความท้าทายของความเสี่ยงด้านอุทกภัย คณะทำงานที่ได้เข้ามาส่วนร่วมในโครงการนี้ ทั้งสองฝ่าย ทั้งกรมศิลปากรและกองทุนโบราณสถานโลก อย่างน้อยต้องเกิดความภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในงานระดับนานาชาติแบบนี้ อย่างที่สองเกิดความรู้สึกที่เราได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะ ความรู้ความสามารถในเรื่องของการอนุรักษ์ ก็เป็นโอกาสในการพัฒนาบุคลากร พัฒนาความสามารถที่เกี่ยวข้องกับงานอนุรักษ์ ไม่ว่าจะอยู่ในระดับภายในกรมเอง หรือจะเป็นบุคคลภายนอก

How do you feel being part of this project?

Speaking on behalf of the project committee, I must say with pleasure that Wat Chai is the nation’s significant heritage site that offers a complete conservation process to learn from and is challenged by the risk of flooding. At least, both FAD and WMF committee must be proud to have a chance to work in this international project. We also regard it as an opportunity to practice skills, enhance our knowledge in conservation, and develop local capacity both internally and outside FAD.


คาดหวังอะไรจากโครงการอนุรักษ์วัดไชยฯ ครั้งนี้บ้าง

คาดหวังว่าโครงการนี้จะได้หลักการอนุรักษ์ที่เป็นในโลกของการทำงาน ซึ่งจริงๆ แล้ว โลกของการทำงานด้านอนุรักษ์เป็นด้านหนึ่งที่ บางครั้งเราเกิดความหละหลวมหรือละเลยในหลักการอนุรักษ์ นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง แต่ว่าเป็นจุดที่เราต้องฝึกตรงนี้ เพื่อทำให้เกิดการทำงานจริงในพื้นที่ได้ หมายความว่า ถ้าเรายึดโครงการนี้เป็นแบบอย่างหรือต้นแบบ ก็จะเกิดประโยชน์ในการทำงานอื่นหลังจากที่ไม่มีกองทุนโบราณสถานโลกแล้ว ก็คาดหวังว่าจะมีชุดองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์เหลืออยู่ และทำให้เราได้สานต่อการอนุรักษ์ที่เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันไปได้ในอนาคตอีก

What do you expect from this project?

I expect this project to be a real world of working. In reality, sometimes we ignore or do not strictly follow conservation principles. This is what happens that we need to focus to make on-stie interventions practicable. In other words, if we can use this project will as a role model, it will be useful for other projects after WMF has left. We hope to keep the knowledge from this project alive to continue conservation works in the future.


คำถามสุดท้าย อยากให้คุณสุกัญญาเล่าถึงกระแสการแต่งกายชุดไทยที่วัดไชยวัฒนาราม และมีความคิดเห็นอย่างไรกับการที่คนไทยรวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติบางส่วนหันมาท่องเที่ยวโบราณสถานในรูปแบบดังกล่าว

ต้องยอมรับว่าในช่วงเวลานั้น ละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ทำให้นักท่องเที่ยวสนใจสถานที่สำคัญในละคร เป็นฉากถ่ายทำที่เป็นโบราณสถาน หนึ่งในนั้นคือวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งมีนักท่องเที่ยวสนใจเข้าเยี่ยมชมมากขึ้น รวมทั้งโบราณสถานอื่นๆด้วย ช่วงแรกนั้นยังไม่มีการแต่งกายด้วยชุดไทยแต่อย่างใด จนกระทั่งอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวขึ้นคือ "แต่งชุดไทยชมวัดไชยวัฒนาราม" ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ และได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก เป็นกิจกรรมที่เรียกได้ว่า "จุดกระแสติด" สอดรับกับกระแสละคร เป็นจุดเริ่มต้นของการแต่งชุดไทยเที่ยวโบราณสถาน เป็นปรากฎการณ์ใหม่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่วนเรื่องชุดไทย เดิมนั้นนักท่องเที่ยวจะต้องเตรียมชุดมาเอง แต่ต่อมาก็เกิดร้านเช่าชุดไทยเพื่อบริการนักท่องเที่ยว เป็นอาชีพใหม่ที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน นับได้ว่าการแต่งชุดไทยเที่ยวโบราณสถานเป็นจุดขายที่ยังคงอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้

For the final question, can you please tell us about the traditional Thai costume trend at Wat Chaiwatthanaram? What are your thoughts on Thai and foreign tourists visiting historical monuments with this trend?

We have to admit that at the time the “Destiny of Love” drama attracted tourists to its filming locations of historical sites. Among these was Wat Chaiwatthanram which saw an increase of visitors. No one was wearing traditional Thai outfits in the beginning until the Ayutthaya Historical Park organized a tourism promotion event “Visiting Wat Chaiwatthanaram in traditional Thai clothes”. It was advertised on online social media and received a huge interest from the public. The event went viral in response to the popularity of the drama initiating the trend of putting on traditional Thai clothes while visiting historical sites, an unprecedented phenomenon. As for the garment, tourists used to bring their own outfits before rental shops emerged for this particular service, creating business for local communities. It can be regarded that wearing traditional clothes has become a selling point for historical sites until today.



 

ดู 330 ครั้ง0 ความคิดเห็น

댓글


bottom of page