วันนี้ที่วัดไชยฯ
อัปเดตเมื่อ 31 ต.ค. 2564
Bring Back the Glorious Past
of
Wat Chaiwatthanaram
เรื่องโดย
ปรีชญา สุวรรณสิทธิ์
Preechaya Suwannasit
นักศึกษาฝึกงานโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม ปี 2564
Intern of Wat Chaiwatthanaram Conservation Project (AFCP Wat Chai Internship 2021)
คืนวันอันรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยาไม่อาจหวนคืน วัดวาหลายแห่งถูกทิ้งร้างและทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ทว่าวัดไชยวัฒนารามซึ่งตั้งอยู่ริมคุ้งน้ำเจ้าพระยาหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะที่นี่คนกลุ่มหนึ่งกำลังทำหน้าที่อนุรักษ์มรดกของชาติให้ยั่งยืนสืบไป
The glorious days of the Ayutthaya era could not be taken back, leaving several temples abandoned and deteriorated over time. But such a condition does not happen with Wat Chaiwatthanaram standing on a bend of Chao Phraya River, thanks to a party of people who are carrying out a conservation project for this national heritage.
วัดไชยวัฒนาราม ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อพุทธศักราช 2173 หรือราวสี่ร้อยปีที่แล้ว กาลเวลาที่ผันผ่านได้เปลี่ยนโฉมหน้าสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธแห่งนี้สู่สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และสู่การเป็นต้นแบบการอนุรักษ์โบราณสถานในประเทศไทยตามหลักสากล
Wat Chaiwatthanaram was constructed in 2173 B.E. or about four hundred years ago, during the reign of King Prasat Thong of Ayutthaya. The passage of time has changed the face of this spiritual home of Buddhists to an attraction of historical tourism and a model of Thai ancient site conservation as per international standards.
เมื่อพุทธศักราช 2554 อุทกภัยครั้งใหญ่ส่งผลให้น้ำทะลักเข้าท่วมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ความพยายามของทุกภาคส่วนที่มาร่วมกันป้องกันวัดไชยวัฒนารามไม่เป็นผล แรงคนไม่อาจต้านแรงธรรมชาติ กระแสน้ำไหลเซาะจนกำแพงวัดทางทิศใต้พังทลายลง น้ำทะลักเข้าท่วมวัดไชยวัฒนารามในที่สุด
In 2011, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province was inundated by severe floods. Despite greater cooperation to safeguard Wat Chaiwatthanaram, human forces could not resist natural forces. The current of floods toppled the southern wall of the temple. Accordingly, water spilled over into the compound of this ancient heritage.
ภาพโบราณสถานเก่าแก่จมอยู่ใต้ผืนน้ำสร้างความสลดใจเป็นวงกว้างแก่ชนชาวไทย เช่นเดียวกันกับชาวต่างชาติที่ได้เห็นภาพดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยจึงได้เสนอความช่วยเหลือและเริ่มต้นโครงการเพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม้ปัญหาอุทกภัยจะสิ้นสุดลงในเวลาต่อมา แต่ความร่วมมือระหว่างประเทศยังคงดำเนินต่อไป เมื่อกองทุนโบราณสถานโลก (World Monuments Fund) โดยความร่วมมือกับสถานทูตฯ และกรมศิลปากร เล็งเห็นถึงความสำคัญของโบราณสถานแห่งนี้และเข้ามาริเริ่มโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม ด้วยความมุ่งหวังที่จะผลักดันให้วัดไชยวัฒนารามเป็นต้นแบบโครงการอนุรักษ์ตามมาตรฐานสากลและเป็นสถานที่บ่มเพาะนักอนุรักษ์ของประเทศไทย โดยมีคุณเจฟ อัลเลน จากกองทุนโบราณสถานโลกเป็นผู้อำนวยการโครงการ
Thai people were stricken with widespread heartbreak against a backdrop of invaluable ancient sites immersed in water, and so were foreigners who were witnessing such pictures. The US Embassy in Thailand, then, extended its aid and set up a conservation project to renovate flood-affected ancient sites in the province of Phra Nakhon Si Ayutthaya. Though the flood was over a while later, the international cooperation still went on. The World Monuments Fund, with the cooperation of the U.S. Embassy and Thailand’s Fine Arts Department, appreciated the significance of this ancient site and initiated the Wat Chaiwatthanaram Conservation Project. The project aims at promoting this site to be a model of the conservation projects as per international standards, and to be a center for cultivating future conservators of Thailand. The program director of this project is Jeff Allen from the World Monuments Fund or WMF.
ยามเช้า เสียงร้องของนกกาน้อยใหญ่ถูกกลบด้วยเสียงเครื่องรถจักรยานยนต์และเสียงพูดคุยทักทาย เป็นสัญญาณว่าวันใหม่ของการดำเนินงานอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว บรรดาช่าง นักอนุรักษ์ และนักศึกษาฝึกงานมารวมพลกันที่สโตร์ใต้ร่มไม้ใหญ่เพื่อเข้าร่วมการประชุมประจำสัปดาห์ ภายใต้การนำของวราภรณ์ สุวัฒนโชติกุล หรือพี่เอื้อง สถาปนิกและผู้ดูแลโครงการ
The morning dawned bright. Chirping sounds of birds were faded by buzzing sounds of motorbikes and the chatter of greetings, marking the start of the new day of Wat Chaiwatthanaram conservation work. At the resting point under the shade of a large tree, all technicians, conservators, and interns gathered for the weekly meeting under the lead of Waraporn Suwatchotikul or P’ Uang, the architect and project manager.
หลังเสร็จสิ้นการประชุม ช่างแต่ละคนบ้างหยิบอุปกรณ์ บ้างตระเตรียมส่วนผสมปูน ก่อนเดินตามกันไปยังเมรุทิศตะวันตกที่อยู่ระหว่างการอนุรักษ์ และเริ่มต้นงานด้วยความกระตือรือร้น
Having received a thorough briefing, all the technicians picked up their necessary equipment. After preparing the mortar mixture, they headed to the western Meru of which the conservation was underway, before starting work with enthusiasm.
ในบรรดาช่างทั้งแปดคน มะลิ ชุ่มชูบุญ หรือป้ามะลิ หัวหน้าช่างอิฐ คือผู้ที่มีอาวุโสและประสบการณ์มากที่สุด จากอดีตช่างอิฐฝีมือดีที่ทำงานให้กรมศิลปากรมายาวนาน แทบจะกล่าวได้ว่าวัดต่างๆ ในอยุธยาล้วนผ่านมือป้ามะลิมาแล้ว ทำให้ป้ามะลิได้รับความไว้วางใจให้มาทำงานให้กับ WMF ทักษะที่สั่งสมมากว่าสี่สิบปีทำให้เพียงมองแวบเดียว ป้ามะลิก็สามารถบอกได้ว่าจุดไหนต้องเอาอิฐเดิมออก จุดไหนต้องเสริมความแข็งแรงด้วยอิฐใหม่ และควรจะก่อเรียงอิฐอย่างไร
Being a former skilled mason working for the Fine Arts Department of Thailand for many years, Mali Choomchooboon or Auntie Mali, the chief mason, had the most seniority and experience among all eight technicians. It could be said that she had worked with almost all temples in Phra Nakhon Si Ayutthaya. It was no wonder that she earns trust to collaborate with WMF. Her 40-year hands-on experience equipped her with such expertise that only a swift glance of hers could identify how to fix, how to lay bricks, where to remove the original bricks, or where to reinforce structures with new bricks.
นอกจากฝีมือและประสบการณ์ที่ทำให้การทำงานของป้ามะลิคืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว ป้ามะลิยังมีรองหัวหน้าอย่างลิ้นจี่ พุมมาหรือที่ทุกคนเรียกกันติดปากว่าป้าแหม็ง และบรรจง สว่างอารมย์ หรือป้าแพนคอยสนับสนุนอย่างเข้มแข็ง หญิงแกร่งทั้งสามร่วมงานกันมานานนับสิบปีกระทั่งรู้ใจกันโดยไม่ต้องเอ่ยปาก เมื่อใดที่ป้ามะลิเริ่มต้นก่ออิฐ ป้าแหม็งก็ไม่รอช้าไปเตรียมผสมปูนสำหรับเสริมร่องอิฐใหม่ทันที
In addition to her craftsmanship and professional experience that helps make rapid progress to her work, Auntie Mali always derives firm support from two deputy chiefs: Banjong Sawang-arom or Auntie Pan and Lin Jee Phumma, or also known as Auntie Maeng. The three strong women have been closely collaborating on a lot of projects for up to ten years, so long that they see eye to eye. As soon as Auntie Mali just starts her masonry work, Auntie Maeng immediately mixes mortar for masonry joint reinforcement.
การเสริมร่องอิฐใหม่หรือที่เรียกกันอย่างย่อว่าร่องใหม่ คือ การใส่ปูนเข้าไปในร่องระหว่างชั้นอิฐที่ก่อขึ้นใหม่ เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับโครงสร้าง เมื่อมีร่องใหม่แล้วย่อมขาดการเสริมร่องอิฐเก่าหรือร่องเก่าไปไม่ได้ การเติมปูนเพื่อเสริมความมั่นคงระหว่างอิฐเก่าและปูนเดิมนี้เป็นหน้าที่ของป้าแพน ผู้ที่ทำงานด้วยความใส่ใจ สังเกตได้จากการที่ป้าแพนคอยใช้ฟองน้ำซับน้ำปูนครั้งแล้วครั้งเล่าจนร่องเก่าออกมาเนียนตาในที่สุด
Masonry joint reinforcement is to fill some mortar into joints between the newly laid bricks to improve the strength of the structure. This reinforcing process is likewise applied to the original bricks and original joints. Adding mortar for structures’ stability enhancement is the duty of Auntie Pan, an observant technician who, with a sponge, keeps on wiping white-clay-suspended water, which is used for mixing mortar, until the work looks clean.
ที่นั่งอยู่ใกล้กันกับป้าแพนคือมานพ ทองระย้า หรือพี่นพ ช่างคนใหม่ที่เพิ่งเข้ามาทำงานได้ไม่นานนัก พี่มานพกำลังขัดทำความสะอาดเมรุอยู่อย่างขะมักเขม้นด้วยแปรงสีฟันด้ามเล็กๆ เพื่อขจัดเอาคราบฝุ่น สิ่งสกปรก และจุลชีพออกจากตัวโบราณสถาน กว่าปูนจะสะอาดจนเผยให้เห็นสีที่แท้จริง แน่นอนว่าหมดแปรงสีฟันไปแล้วไม่รู้กี่ด้ามต่อกี่ด้าม และแต่ละด้ามยังถูกใช้งานจนขนแปรงสั้นกุดหัวแปรงทู่ทื่อ
Sitting adjacent to Auntie Pan was Manop Thongraya or P’ Nop, a new technician who just started doing this job. He was trying, in a determined fashion, to remove dust, dirt, and microorganisms on the ancient structure of the Meru with a small toothbrush until the surface looked so clean that its actual color was revealed. And of course, countless toothbrushes were so heavily used that they became out of condition. Besides, each one was exploited until its bristles became shortened.
วันนี้บรรยากาศที่ไซต์งานดูครื้นเครงผิดไปจากวันก่อนๆ คงเป็นเพราะสมคิด เเก้วมณี หรือพี่หนูที่ลาหยุดไปกลับมาทำงานอีกครั้ง พี่หนูพูดคุยสร้างเสียงหัวเราะให้ทุกคนพลางขัดคราบสกปรกออกจากผนังโดยไม่หยุดมือ แม้ว่างานหลักของพี่หนูคือการฉาบ แต่ในยามที่ว่างเว้นจากงานของตน พี่หนูก็จะโดดไปช่วยคนอื่นทำงานอยู่เสมอ
Unlike normal days, today’s atmosphere at the site appears livelier. It was likely because Somkid Kawmanee or P’ Noo who had taken leave got back to work. He was the one who always kept entertaining others while he was working, scrubbing dirt off the wall without cease. Plastering was his main job; still, he always lent his helping hand to his colleagues during his spare time.
สุเทพ ชีระศิลป์ หรือพี่ตี๋เป็นช่างอีกคนหนึ่งที่คอยสนับสนุนการทำงานของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการจับขอบ สกัดซีเมนต์เก่า ก่ออิฐ เติมร่อง ผสมปูน หรืองานอื่นๆ พี่ตี๋พร้อมจะเข้าไปช่วยในทันทีโดยไม่ต้องร้องขอ วันนี้งานที่พี่ตี๋ทำคือการจับขอบ ซึ่งเป็นการเสริมความมั่นคงให้กับขอบของผิวปูนแต่ละชั้น และปิดรอยแยกระหว่างปูนกับอิฐ ไม่เช่นนั้นอาจมีน้ำรั่วซึมเข้าไปสร้างความเสียหายให้โบราณสถานได้
Sutape Cheerasilp or P’ Tee, another technician, was also another active support for the others' tasks, like layer reinforcement, removal of old cement, masonry, brick joint filling, mortar mixing, among other things. P’ Tee always readily and immediately did a favor without any request from others. His task for today was layer reinforcement; the process to strengthen the edge of each layer of surface, and to fill cracks between mortar and bricks to prevent water from seeping into the cracks and causing damage to ancient structures.
ระหว่างที่เดินสำรวจรอบเมรุ เสียงวิทยุที่ลอยมาตามลมทำให้เราอดแหงนหน้ามองหาต้นเสียงไม่ได้ เมื่อไต่ขึ้นนั่งร้านและเดินตามเสียงไปก็พบกับพรเจตร์ บุญญเขตร์หรือพี่เจต เจ้าของเสียงวิทยุคลายเหงา พี่เจตน์มักจะเปิดฟังข่าวระหว่างทำงานเสมอ เพราะบนนั่งร้านชั้นสามนี้ไม่มีใครอื่นอีก เนื่องจากงานของพี่เจตน์คือการฉีดน้ำปูนเข้าไปในโพรงที่อยู่ใต้ชั้นผิวปูนเดิมเพื่อเสริมความแข็งแรง งานนี้จะเริ่มขึ้นได้เมื่องานอื่น เช่น การจับขอบ หรือการฉาบ เสร็จสิ้นลง
While walking around the Meru, we could hear the sound of the radio drifting through the wind. It was almost impossible for us not to look up to follow its source. After climbing up the scaffolding to follow that sound, we met the owner of the radio blaring out. Pornjet Bunyakate or P' Jed always listened to radio news while working since there was no one else on the third floor of the scaffolding. His task was to inject liquid mortar into the cavity beneath the original surface for reinforcement. This process can be started only when other processes like layer reinforcement or plastering are completed.
การทำงานด้วยความรื่นรมย์ทำให้งานหนักคลายกลายเป็นเบา และทำให้เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว รู้ตัวอีกทีก็ใกล้เวลาอาหารเที่ยงแล้ว มื้อนี้พี่หนูอาสาเป็นเจ้ามือเลี้ยงไก่ทอดหาดใหญ่เจ้าอร่อย นับเป็นลาภปากของเรา หลังจบมื้ออาหาร ต่างคนต่างแยกย้ายกันไปพักผ่อน บางส่วนเอนกายลงนอน บางส่วนนั่งคุยกัน เสียงใครสักคนแว่วมาเข้าหูว่าเมฆตั้งเค้ามาแล้ว บ่ายนี้ฝนคงตกหนัก
Working with pleasure certainly made hard work lighter. We could not even realize that time flew until it was almost lunchtime. P’ Noo voluntarily treated everyone to this lunch with Hat Yai fried chicken, a popular and delicious menu. Probably we were lucky enough for this gratuitous meal. After lunch, everyone scattered for midday rest. Some lay down while some sat and talked. One voice called out, saying that dark clouds were gathering, showing a sign of the pouring rain this afternoon.
เมื่อถึงยามบ่าย ฝนกระหน่ำลงมาจริงดังคาด สมาชิกวัดไชยฯ ทุกคนจึงเก็บงานที่ทำอยู่และกลับไปรวมกันที่สโตร์รอให้ฝนหยุด เพราะที่นี่ความปลอดภัยของคนทำงานต้องมาเป็นลำดับแรก
The rain drummed down as expected. All project members then collected their equipment and went back to the resting point. Everyone waited for the rain to stop because the safety of workers here always came first.
สายฝนที่เทลงมาเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน และอาจส่งผลร้ายต่อโบราณสถาน หากน้ำฝนไหลซึมเข้าไปตามรอยแตกร้าวตามผนังหรือขังอยู่ภายใน แต่วัดไชยวัฒนารามไม่ประสบปัญหาในเรื่องนี้ โดยเฉพาะในบริเวณที่ได้รับการอนุรักษ์แล้ว เนื่องจากเอกอนันท์ สุขอินทรีย์ หรือพี่แกละ ช่างผู้สืบทอดเทคนิคการก่ออิฐจากป้ามะลิ คอยทำทางลาดเอียงตามขอบมุมของเมรุ เพื่อให้น้ำฝนระบายออกโดยสะดวกและไม่เกิดน้ำขัง
The pouring rain undoubtedly hinders work and may have a detrimental effect on ancient sites if rainwater seeps into the cracks in the walls or gets logged inside. But Wat Chaiwatthanaram does not encounter any problems in this regard, especially in the area that has been conserved or retouched. That is because Aekanan Sookinsee or P’ Klae, a mason who inherited brick masonry techniques from Auntie Mali, made a slope along the corner of Merus to allow rainwater to drain easily and prevent waterlogging.
ทักษะและความรู้ของช่างแต่ละคนเพิ่มพูนยิ่งกว่าเดิมภายใต้การชี้แนะของคุณโจเซฟีน ดิลลาริโอ ผู้เชี่ยวชาญจากอิตาลีที่นำความรู้ด้านการอนุรักษ์ฉบับสากลมายังประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะถ่ายทอดเทคนิคการทำงานให้ช่างแล้ว คุณโจเซฟีนยังบ่มเพาะนักอนุรักษ์ประจำวัดไชยวัฒนารามขึ้นมาอีกด้วย
Under the guidance of Josephine D'Ilario, an Italian expert who brought international conservation knowledge to Thailand, each of the technicians’ skills and knowledge further accumulated. Not only did she share working techniques with the technicians, but she also cultivated the conservators of Wat Chaiwatthanaram.
การอนุรักษ์พื้นที่ภายในเมรุเป็นงานละเอียดอ่อนที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ร่วมกัน นับตั้งแต่การเลือกใช้สารเคมีเพื่อการอนุรักษ์ ไปจนถึงการเลือกวิธีอนุรักษ์โดยคำนึงถึงสุนทรียะและคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์
Taking care of space inside Merus is a delicate work that requires both technical and artistic knowledge, ranging from the selection of chemicals for conservation to the selection of conservation methods based on aesthetics and historical value.
นอกจากมีความรู้ นักอนุรักษ์ยังต้องมีใจรักและความอดทน
Thus, in addition to insight, conservation work requires passion and patience.
ที่ชั้นล่างของเมรุ เราพบกับนฐชพรรษ์ ประพฤติธรรม หรือพี่นต หนึ่งในนักอนุรักษ์และเป็นพี่เลี้ยงของนักศึกษาฝึกงานกำลังฉาบปูนที่ฐานพระด้วยความตั้งใจและพิถีพิถัน เพราะการอนุรักษ์พระพุทธรูปปูนปั้นสมัยอยุธยาที่มีการลงรัก ปิดทอง และประดับกระจก เป็นงานที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง หากเผลอหนักมือเกินไปอาจทำให้ชิ้นส่วนที่เปราะบางหลุดกะเทาะออกมา
Down on the ground floor of the Meru’s scaffolding sitting was Notchapan Praprudtham or P’ Notch, one of our conservators who was carefully and meticulously doing plastering work at the base of a Buddha image. The conservation of Ayutthaya stucco Buddha images, which are lacquered, gilded, and decorated with glass, requires special diligence. So, if the works are touched too hard, fragile parts are likely to be cracked.
เมื่อขึ้นบันไดนั่งร้านไปยังชั้นสอง เราพบกับนักอนุรักษ์อีกคนหนึ่ง คือณัธฐ์คนบ ปรัชญานิติพัทย์ หรือพี่แอปเปิ้ล ด้วยพื้นฐานด้านศิลปะเป็นทุนเดิม ทำให้พี่แอปเปิ้ลได้รับมอบหมายให้อนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังที่เริ่มซีดจางและเลือนรางไปตามกาลเวลา ในฐานะนักอนุรักษ์ พี่แอปเปิ้ลเล่าให้เราฟังว่าการวิเคราะห์ว่าจุดไหนควรแต่งเติมหรือคงสภาพไว้ดังเดิมถือเป็นเรื่องยาก ต้องใช้ทั้งประสบการณ์และวิจารณญาณประกอบกันเพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด
Up the scaffolding to the second-floor working was another skilled conservator. Thanks to her background knowledge of art, Nathkanop Prachayanitipat or P' Apple was assigned to take care of fading murals. As a conservator, she said that it was difficult to analyze where to be either augmented or maintained; that is, a combination of experience and prudence was required to minimize any errors.
ที่ชั้นบนสุดของเมรุ แสงสปอตไลท์ส่องให้เห็นความงดงามของฝ้าเพดานและลวดลายไม้สลักศิลปะอยุธยา ที่นี่แสนภูมิ ภู่ทอง หรือพี่ภูมิ นักอนุรักษ์หนุ่มเพียงหนึ่งเดียวกำลังทำความสะอาดฝ้าเพดานอยู่เงียบๆ พี่ภูมิอธิบายให้ฟังว่ากำลังใช้วีแชป (wishab) ทำความสะอาดเอาคราบขาวบนฝ้าเพดานออก เมื่อสังเกตดูให้ดีจะเห็นว่าจุดที่ทำความสะอาดแล้วได้เผยให้เห็นสีดำของรักอย่างเต็มที่ ทำให้ฝ้าเพดานดูสวยจับตากว่าเดิม
At the top of the Meru, spotlights shined on the beauty of the ceiling, revealing the patterned wood carvings of Ayutthaya art. Here sat Sanphoom Phutong or P’ Poom, the only guy in the conservator team, quietly cleaning the ceiling. P’ Poom explained that he was using an akapad sponge or wishab to clean the white stains left on the ceiling. With a close look at it, the cleaned spots fully disclosed the black color of lacquer, highlighting the ceiling to be even more exquisite.
ตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามมาเป็นเวลากว่าหกปี ความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนทำให้การอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามคืบหน้าไปอย่างต่อเนื่อง จากเมรุทิศใต้ (C3) ไปสู่เมรุรายทิศตะวันตกเฉียงใต้ (C4) กระทั่งมาถึงเมรุทิศตะวันตก (C5) อันเป็นเมรุที่ 3 ที่กำลังทำการอนุรักษ์อยู่ในปัจจุบัน
It has already been 6 years since the launch of the Wat Chaiwatthanaram Conservation Project. The cooperation of all sectors has enabled the conservation of this treasured legacy to continuously progress, beginning at the south Meru (C3), the corner Meru (C4), and now reaching the west Meru (C5) which is the third one that is currently under the conservation process.
แน่นอนว่าการอนุรักษ์ไม่ได้มีเพียงการซ่อมแซมหรือการทำนุบำรุงเท่านั้น อีกหนึ่งสิ่งที่โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามให้ความสำคัญคือการสร้างความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ และการปลูกฝังรากฐานการอนุรักษ์ลงในใจผู้คน ด้วยเหตุนี้ โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของเยาวชนคนรุ่นใหม่ จึงริเริ่มโครงการรับนักศึกษาฝึกงานขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2564 เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่มีความสนใจด้านการอนุรักษ์ได้เข้ามาเรียนรู้งานและค้นหาคำตอบว่าอะไรกันแน่คือสิ่งที่เรียกว่าการอนุรักษ์
Conservation is apparently not only concerning repair or maintenance. What Wat Chaiwatthanaram Conservation Project also focuses on is enriching a proper understanding of conservation and laying a firm foundation of conservation awareness in people’s hearts. As a result of this, the Wat Chaiwatthanaram Conservation Project recognizes the importance of the youth. Therefore, the first internship program was initiated in 2021 to welcome students with a keen interest in conservation to learn and find out what exactly conservation is.
นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกในปีแรกนี้มาจากสาขาวิชาที่แตกต่างกัน เช่น อักษรศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และโบราณคดี ทำให้เกิดความหลากหลายและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในหมู่นักศึกษาฝึกงาน และแม้จะมาจากต่างสาขาวิชา แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนมีร่วมกันคือความปรารถนาที่จะอนุรักษ์มรดกของชาติ
The selected intern students in the first year of the project are from different study fields, such as liberal arts, architecture, and archaeology, creating diversity and knowledge exchange among them. Despite the variety of programs that they study, what everyone has in common is the passion to conserve national legacies.
พี่เอื้อง สถาปนิกและผู้ดูแลโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม ที่เป็นเรี่ยวแรงสำคัญคอยดูแลนักศึกษาระหว่างการฝึกงานกล่าวว่า ถึงแม้นักศึกษามาฝึกงานกับโครงการแล้วพบว่าการทำงานในด้านนี้ไม่ใช่แนวทางของตนเองก็ไม่เป็นไร เพราะที่วัดไชยวัฒนารามแห่งนี้คือเวทีแห่งการเรียนรู้
As an architect and project manager of the Wat Chaiwatthanaram Conservation Project, P’ Uang who assuming such an important role to take care of the students during the internship said that even if the interns of the project find themselves that working in this field was not their way, it was all right and this project could be taken as their learning platform.
ยามเย็น เมื่ออาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้า แสงสีทองแกมแดงอาบไล้ปรางค์ประธานวัดไชยวัฒนารามเป็นดั่งมนต์สะกดจนเราไม่อาจละสายตา วัดไชยวัฒนารามในวันนี้ยังมีคนกลุ่มเล็กๆ เป็นประดุจฟันเฟืองคอยขับเคลื่อนให้การอนุรักษ์เดินหน้า แต่อนาคตของวัดไชยวัฒนารามจะยั่งยืนต่อไปอีกนานเพียงใด ต้องฝากไว้ในมือของคนรุ่นใหม่ ที่จะมาเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันงานอนุรักษ์ของไทยให้ก้าวหน้าสืบไป
The brilliant sun was sinking while the reddish-golden glow of sunset casting upon the main prang of the temple was so spellbinding that we couldn't even take our eyes off. Today in Wat Chaiwatthanaram, a small group of people still stays resolute, working like gear that enhances the conservation. Hardly whether how long this priceless monument stands tall can be guaranteed, but the secure and promising future of this invaluable heritage of Thailand lies in the hands of a new generation that will be a significant force in driving Thailand's conservation work.
ขอบคุณข้อมูล - โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม: จากโบราณสถานที่ประสบอุทกภัยสู่การเป็นห้องเรียนอนุรักษ์ https://www.kidyang.com/post/wat-chai-story-%E0%B9%80%E0%B8%A3-%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5-%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A7-%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2 - แผ่นพับวัดไชยวัฒนาราม
Коментарі