วัดไชยวัฒนาราม: จากโครงการบูรณะต้นแบบสู่การเป็นห้องเรียนอนุรักษ์
อัปเดตเมื่อ 11 พ.ย. 2564
Wat Chaiwatthanaram: Restoration Model Becomes Conservation Classroom
WAT CHAI STORY: เรื่องเล่าจากวัดไชย ตอนที่ 3
เรื่องโดย
วราภรณ์ สุวัฒนโชติกุล
Waraporn Suwatchotikul
คุณโจเซฟิน ดิลลาริโอ หัวหน้านักอนุรักษ์ของโครงการ
ให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์กับนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกเหนือไปจากงานอนุรักษ์โบราณสถานที่ถือเป็นงานหลักแล้ว โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามได้ดำเนินกิจกรรมเสริมต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างศักยภาพให้แก่บุคลากรในท้องที่ ถือเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่ยั่งยืนทั้งต่อวัดไชยวัฒนาราม รวมไปถึงโบราณสถานอื่น ๆ ในประเทศไทย
ความรู้และความชำนาญด้านการอนุรักษ์ของบุคลากรนั้นสะสมเพิ่มพูนขึ้นได้จากการลงมือปฏิบัติงานจริงอย่างต่อเนื่อง เมรุทิศเมรุรายทั้งแปดองค์ที่วัดไชยวัฒนารามนั้น นอกจากจะเป็นโบราณสถานที่มีลักษณะเฉพาะโดดเด่นแล้วยังถือเป็นห้องเรียนต้นแบบของการฝึกฝนฝีมือในการทำงานอนุรักษ์ที่สำคัญอีกด้วย
At Wat Chaiwatthanaram, complementary initiatives are designed throughout the conservation process to build local capacity for the long-term preservation of cultural heritage at the site and elsewhere in Thailand. Conservation knowledge matures through hands-on experience and meaningful collaboration at Wat Chai's eight meru conical pavilions. They form an exceptional architectural feature providing an ideal classroom to improve conservation practice.
ผลจากการจัดกิจกรรมฝึกอบรมปฏิบัติในสองครั้งแรกที่เป็นเรื่องของการเก็บข้อมูลนั้น ทำให้กรมศิลปากรสามารถดำเนินงานบันทึกข้อมูลทางสถาปัตยกรรมด้วยวิธีเลเซอร์สแกน เพื่อเริ่มต้นโครงการอนุรักษ์นำร่องที่เมรุทางทิศใต้เป็นเมรุแรก ข้อมูลที่ได้จากการทำเลเซอร์สแกนยังนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนระบบการจัดการน้ำ และเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการดำเนินงานอนุรักษ์ที่องค์เมรุ
ความสำเร็จจากกิจกรรมฝึกอบรมในระยะแรกได้นำไปสู่การจัดงานฝึกอบรมปฏิบัติอย่างต่อเนื่องอีกหกครั้ง แต่ละครั้งใช้หัวข้อที่สัมพันธ์กับความจำเป็นต่าง ๆ ด้านงานบูรณะของวัดไชยวัฒนาราม โดยทางกองทุนโบราณสถานโลกได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาร่วมเป็นวิทยากร และมีบุคลากรของกรมศิลปากรจากหลายสาขาวิชาชีพเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนักโบราณคดี วิศวกร สถาปนิก และนักวิทยาศาสตร์ ทั้งจากสำนักงานที่กรุงเทพฯ และจากสำนักศิลปากรประจำภูมิภาค งานฝึกอบรมในแต่ละครั้งมีการนำเสนอวัสดุและเทคนิคการทำงานอนุรักษ์แบบใหม่ๆ ซึ่งได้ดำเนินการทดสอบการใช้งานแห่งแรกที่วัดไชยวัฒนาราม ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดสอบวัสดุและเทคนิควิธีการอนุรักษ์แบบใหม่นี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการทำงานในระดับองค์กร เช่น การเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นวัสดุทางเลือกที่ปลอดสารพิษในการทำความสะอาดผนังและปูนปั้น ตลอดจนการปรับเปลี่ยนสูตรปูนสำหรับงานฉีดซ่อม โดยใช้ปูนขาวเป็นส่วนประกอบหลัก
Two training workshops built the Fine Arts Department of Thailand’s capabilities for managing laser scanning documentation to kick start the meru pilot conservation project. The data became the source material for designing water management strategies and eventually documentation that underpins meru conservation.
Those first sessions' success set up a series of six workshops connected to Wat Chai's physical conservation needs. World Monuments Fund led the seminars by visiting international experts and attended by archaeologists, engineers, architects, and scientists from the Fine Art Department's regional offices and Bangkok headquarters. As part of each workshop, new materials and techniques were presented, and where applicable to the Wat Chai experience, promoted for testing. Outcomes often led to institutional changes, such as recognizing essential oils as a non-toxic alternative for wall and stucco cleaning and modifying the Fine Arts Department's lime-based grout formulas.
ภาพการฝึกอบรมกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ
ตัวอย่างของการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในพื้นที่อีกงานหนึ่งคือการอบรมฝึกอาชีพให้แก่ช่างอนุรักษ์ของโครงการ ซึ่งรับผิดชอบงานเสริมความมั่นคงแข็งแรงของอิฐและปูน ระยะแรกเป็นการฝึกปฏิบัติช่างจำนวนสี่คน โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้จัดหา ช่างแต่ละคนนั้นล้วนมีประสบการณ์ในการทำงานกับอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สังกัดกรมศิลปากรมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยทางกองทุนโบราณสถานโลกได้ฝึกอบรมช่างเหล่านี้ให้มีทักษะความชำนาญ ตลอดจนเทคนิคต่างๆเพิ่มมากขึ้น ต่อมาทางโครงการจึงได้ทยอยเพิ่มจำนวนช่างอนุรักษ์ ตามความจำเป็นและความเหมาะสมของงาน ปัจจุบันทางโครงการมีช่างอนุรักษ์ทั้งหมดแปดคน ความสำเร็จดังกล่าว นำมาสู่การขยายขอบเขตของการสร้างเสริมศักยภาพโดยรับบัณฑิตที่เป็นคนรุ่นใหม่อีกสี่คน แต่ละคนล้วนมีความสนใจด้านมรดกทางวัฒนธรรม จึงเข้าร่วมโครงการในฐานะนักอนุรักษ์ฝึกหัด เพื่อเรียนรู้งานอนุรักษ์วัสดุประดับตกแต่งและงานประณีตศิลป์ ในเวลาต่อมากองทุนโบราณสถานโลกยังได้เปิดรับสถาปนิก และช่างแกะสลักไม้เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ด้วยการชี้แนะและให้การฝึกฝนอย่างเอาจริงเอาจังของคุณโจเซฟิน ดิลลาริโอ หัวหน้านักอนุรักษ์โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามของกองทุนโบราณสถานโลก เหล่าผู้ปฏิบัติงานอนุรักษ์ที่เป็นบุคลากรระดับท้องถิ่นจึงได้ฝึกฝนทักษะการทำงานผ่านความท้าทายหลากหลายไม่สิ้นสุดของงานอนุรักษ์ที่วัดไชยวัฒนาราม
Another capacity-building initiative is field-based training for conservation technicians, who stabilize bricks and stucco at Wat Chai. Initially, the team started with four technicians, who had worked with Ayutthaya Historical Park, and gradually grew to eight. New hiring complemented it with four young graduates interested in cultural heritage, who joined the project as decorative materials conservation trainees. Later, WMF added an architect, a woodcarver, and other technicians to the team. Finally, with guidance from Ms. Josephine D’Ilario, WMF's chief conservator, the local staff perfects their conservation skills through the never-ending challenges of Wat Chai's merus.
ช่างและนักอนุรักษ์ของโครงการ
ในปี 2562 โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามได้ร่วมมือกับกรมศิลปากรในการขยายแผนงานเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในระดับท้องถิ่นไปสู่ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย โดยมอบประสบการณ์ตรงในการทำงานอนุรักษ์ให้แก่นักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งทางโครงการมองว่าคนรุ่นใหม่เหล่านี้ มีโอกาสที่จะได้ต่อยอดการทำงานด้านการอนุรักษ์ในอนาคต จึงนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ในห้องเรียนแบบเปิดผ่านการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาโดยการฝึกอบรมและปฏิบัติ มีทั้งรูปแบบหนึ่งวันและสามวัน อาทิ การจัดกิจกรรมทัศนศึกษาร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างก็ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่การเรียนรู้ทฤษฎีด้านการอนุรักษ์ที่ทางโครงการใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนการลงมือฝึกปฏิบัติจริงด้วยการใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลายและไม่คุ้นชิน สำหรับช่วงสำคัญจะอยู่ในตอนท้ายของกิจกรรมที่เป็นการทำแบบฝึกหัด โดยทางโครงการออกแบบโจทย์ที่ท้าทายและเสริมสร้างกระบวนการคิด ถือเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจต่อองค์ประกอบของงานอนุรักษ์
นอกเหนือไปจากกิจกรรมทัศนศึกษาเหล่านี้ เจ้าหน้าที่ของกองทุนโบราณสถานโลกยังได้นำเรื่องราวจากพื้นที่ปฏิบัติงานไปสู่ห้องเรียนในมหาวิทยาลัย โดยการรับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ นับเป็นกิจกรรมอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับการเผยแพร่ความรู้ให้แก่คณาจารย์และนักศึกษาที่ยังไม่มีโอกาสเดินทางมาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
In 2019, World Monuments Fund collaborate with the Fine Arts Department of Thailand to push the scheme of local capacity building was also extended to collaboration with Thai educational institutions to provide first-hand experiences in conservation for future heritage professionals. The Wat Chai Project developed its open classroom approach for university students at both undergraduate and post-graduate levels. Single and multiple-day field-trip workshops have been co-organized with the Department of Architecture, Chulalongkorn University, and Department of Chemistry, Silpakorn University, two esteemed Bangkok institutions. Students engage in a broad range of experiences during study trips, from learning about the conservation theories behind the project to getting their hands dirty with unfamiliar tools and materials. A critical finale is a group exercise designed to challenge, strengthen thinking, and widen students' overall perception about what constitutes conservation.
Apart from these field trips, WMF staffs bring stories from the worksite to classrooms through a series of university visits. These experiences preclude field trips or function as stand-alone events for those students and faculty who do not have the resources to come to Ayutthaya.
กิจกรรมการเผยแพร่ความรู้กับสถาบันการศึกษา
ด้วยทุนสนับสนุนจากสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยผ่านกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามได้ริเริ่มกิจกรรมฝึกงานที่ตั้งใจมอบประสบการณ์การทำงานอนุรักษ์อย่างเข้มข้นให้แก่นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือก ทั้งนี้กระบวนการคัดเลือกผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมในปีนี้ ถือว่ามีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง อัตราส่วนผู้ที่สมัครเข้ามาและผู้ที่ผ่านการคัดเลือกอยู่ที่ 8 ต่อ 1นักศึกษาฝึกงานที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 5 คน ล้วนมีประสบการณ์ทางวิชาการและการศึกษาที่แตกต่างกัน เยาวชนคนรุ่นใหม่เหล่านี้ได้เริ่มต้นเส้นทางของการเป็นนักศึกษาฝึกงานผ่านการฝึกอบรมและได้ลงมือปฏิบัติงานที่วัดไชยวัฒนารามตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายน ปี 2564 โดยได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำงาน และวิธีการอนุรักษ์วัสดุโบราณจากช่างและนักอนุรักษ์ผู้เชี่ยวชาญของโครงการโดยมีวัดไชยวัฒนารามเป็นกรณีศึกษา วัดไชยวัฒนารามจึงถือว่าเป็นทั้งสนามทดลองในการฝึกฝนและสนามจริงในการประลองฝีมือด้านการอนุรักษ์
With grant support from the U.S. Embassy in Thailand (the U.S. ambassadors fund for cultural preservation or AFCP), a new internship program offers selected university students intensive experiences in undertaking conservation projects. Participation is competitive, with only one in eight applicants making the cut. The first batch of five interns, with a range of academic experiences and studies, embarked on their training journeys at Wat Chai from June to September 2021. Wat Chaiwatthanaram is considered both a playing field and an actual field for work and conservation skills. All interns learned comprehensively from the project's now-skilled staff how to best preserve historical materials, exploring amazing Wat Chaiwatthanaram, a case study!
ภาพจากกิจกรรมการฝึกงานโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม
คณะทำงานจากกรมศิลปากรลงพื้นที่ที่วัดไชยวัฒนาราม
Opmerkingen