มองงานอนุรักษ์ที่วัดไชยผ่านสายตานักอนุรักษ์จากอิตาลี กับบทสัมภาษณ์คุณโจเซฟิน ดิลลาริโอ
Viewing Wat Chai through the eyes of Italian Conservator Josephine D’Ilario
ชวนคุย ชวนอ่าน บทสัมภาษณ์ของคุณโจเซฟิน ดิลลาริโอ หัวหน้านักอนุรักษ์ของโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม
ในบทความก่อนหน้าเราได้ลงบทสัมภาษณ์ของผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 คุณสุกัญญา เบาเนิด กับบทบาทของกรมศิลปากรในโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม ฉบับนี้เราจึงนำเรื่องราวของนักอนุรักษ์จากฝั่งของกองทุนโบราณสถานโลกมาให้อ่านกันบ้าง หวังว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลายคนได้เห็นความสำคัญและคุณค่าของการทำงานอนุรักษ์ที่นอกจากจะเป็นการช่วยรักษาประวัติศาสตร์ให้คงอยู่กับตัวสถาปัตยกรรมไว้ได้อย่างดีแล้วยังถือเป็นการส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรมให้กับคนรุ่นใหม่ได้ศึกษาและเรียนรู้อีกด้วย
In the previous article, we interviewed Sukanya Baonerd on the Fine Arts Depatment’s role in the Wat Chaiwatthanaram Conservation Project. For this time, let’s hear stories from the World Monuments Fund’s conservator. Hopefully, this will help raise awareness in the importance and value of historic preservation which doesn’t only preseve history on monuments but also passes down cultural heritage to younger generations to learn and understand.
อยากให้ช่วยเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาของคุณโจเซฟิน รวมถึงเส้นทางของการที่ได้มาทำงานโครงการบูรณะวัดไชยวัฒนารามในครั้งนี้
ดิฉันเป็นนักอนุรักษ์และช่างศิลปกรรมชาวอิตาเลียน เริ่มทำงานกับองค์กร World Monuments Fund ในปี 2558 ในฐานะที่ปรึกษา ตำแหน่งหัวหน้านักอนุรักษ์ประจำโครงการฟื้นฟูบูรณะวัดไชยวัฒนาราม ดิฉันทำงานด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมมาประมาณ 20 ปี และทำงานในโครงการระดับนานาชาติมาตั้งแต่ปี 2557 งานหลักคือการแบ่งปันความรู้เรื่องการปฏิบัติงานอนุรักษ์ที่เหมาะสม กับหน่วยงานหรือผู้ร่วมงานในพื้นที่ โดยยึดตามมาตรฐานสากล รวมทั้งช่วยฝึกหัดนักอนุรักษ์รุ่นเยาว์ที่เพิ่งเริ่มงานในสายอาชีพนี้
Please tell us your previous experiences and how you joined the Wat Chai project
I am an Italian conservator and restorer and I joined WMF in 2015 as consultant, to act as chief project conservator for the Wat Chaiwatthanaram conservation project. I work for the last 20 years in the field of conservation of cultural heritage, and since 2004 I joined international projects, sharing with local partners best conservation practices, based on international standards, training young conservators in the field.
ขั้นตอนการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นเป็นอย่างไรบ้าง ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนใด และมีกระบวนการทำงานอย่างไรบ้าง
โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างองค์กร World Monuments Fund และกรมศิลปากร เริ่มต้นขึ้นหลังเหตุการณ์อุทกภัยครั้งรุนแรงในปี 2554 โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (The U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation) ภายใต้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ฯ และสถานทูตสหรัฐฯ กรุงเทพฯ และจากกองทุน Robert W. Wilson Challenge to Conserve Our Heritage วัดไชยวัฒนารามเป็นโบราณสถานที่ประกอบด้วยวัสดุหลายประเภท ทั้งผนังอิฐ ปูนฉาบ ปูนปั้นประดับ พระพุทธรูปปูนปั้นที่ลงรักปิดทอง และภาพจิตรกรรมฝาผนัง รวมถึงฝ้าเพดานไม้ภายในเมรุ ซึ่งเป็นงานแกะสลัก ลงรักปิดทอง และประดับด้วยชิ้นกระจก งานอนุรักษ์ที่นี่เรียกได้ว่าเป็นงานที่ไม่มีวันเบื่อเพราะต้องจัดการกับวัสดุต่าง ๆ มากมาย ทั้งนี้โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามดำเนินงานตามมาตรฐานสากล ยึดถือหลักการอนุรักษ์ที่แทรกแซงโบราสถานในระดับที่น้อยที่สุด มุ่งเสริมความมั่นคงของวัสดุดั้งเดิม และรื้อถอนงานบูรณะที่เคยทำไว้ในอดีต ในกรณีที่งานอนุรักษ์ดังกล่าวมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมกับวัสดุโบราณ ซึ่งจะมีส่วนเร่งในกระบวนการเสื่อมสภาพขององค์ประกอบดั้งเดิม กรณีวัดไชยวัฒนาราม การรื้อถอนงานบูรณะเดิมที่ใช้ปูนซีเมนต์ถือเป็นหนึ่งในงานหลัก งานอนุรักษ์เมรุและระเบียงคดวัดไชยวัฒนารามเริ่มขึ้นในปี 2558 หลังจากทำงานเก็บบันทึกข้อมูลและทำเลเซอร์แสกนเพื่อสร้างแบบทางสถาปัตยกรรม โดยเริ่มต้นด้วยโครงการนำร่องที่เมรุทิศหมายเลข 3 ซึ่งเป็นการตกลงร่วมกันกับกรมศิลปากร เนื่องจากเป็นเมรุที่พบปัญหาครอบคลุมทุกวัสดุ จึงสามารถใช้วางแนวทางการทำงานในเมรุองค์อื่น ๆ ที่เหลือ รวมถึงในระเบียงคด ระหว่างดำเนินโครงการนำร่อง ได้จัดงานฝึกอบรมปฏิบัติทั้งหมด 6 ครั้ง โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติมาเป็นวิทยากร เพื่อแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ทั้งนักอนุรักษ์ นักโบราณคดี สถาปนิก และวิศวกร ในหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัดไชยวัฒนาราม รวมถึงโบราณสถานอื่น ๆ ในอยุธยาที่พบปัญหารูปแบบเดียวกัน ในปัจจุบัน ทางโครงการดำเนินงานอนุรักษ์ถึงเมรุองค์ที่สาม คือเมรุทิศหมายเลข 5 ทีมปฏิบัติงานประกอบด้วยช่างอิฐและช่างอนุรักษ์จำนวน 8 คน นำโดยหัวหน้าช่าง คุณมะลิ ชุ่มชูบุญ ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานกับกรมศิลปากรมาอย่างยาวนานกว่า 25 ปี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักอนุรักษ์จำนวน 5 คน ซึ่งได้เข้ามาฝึกหัดงานอนุรักษ์ จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 ปีแล้ว รวมทั้งยังมีสถาปนิกประจำโครงการ เป็นคนรับผิดชอบงานเก็บบันทึกข้อมูลของโครงการและจัดทำแบบทางสถาปัตยกรรมต่าง ๆ เพื่อใช้พิจารณาร่วมกับกรมศิลปากร เช่น แบบสำรวจ แบบเสนองานอนุรักษ์ ซึ่งการจัดทำข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ต่อคลังข้อมูลสำหรับการสืบค้นประวัติของโบราณสถาน ทั้งนี้ วิธีการและวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในโครงการได้ผ่านการพิจารณาร่วมกันระหว่างสองหน่วยงาน ที่ผ่านมาได้ทดลองใช้วิธีการอนุรักษ์แบบใหม่ เช่น การใช้ปูนฉีดสำหรับเสริมความมั่นคงของผนังปูนที่โป่งพอง
What is the conservation process in this project? and in which step/phase is it now?
We follow international standards, the philosophy of intervention is based on minimum intervention principles that aim to stabilize the original material, removing intervention repairs, done in the past, that for incompatibility can speed up the degradation process of the original elements. The removal of cement-based mortars repairs is one of the most demanding task. Wat Chai is a multi-materials archaeological site, that includes brick masonry, stucco plaster and stucco decorative elements, Buddha images statues in stucco, lacquered and gilded surfaces and wall paintings. There are also teak wood ceilings in the merus, also carved, lacquered, gilded and with glaze inlaid. So, it is clear that is a quite challenging project that requires different skills and a team of conservators that can face all these different aspects of the intervention. Of course, we never get bored as we deal with many different things! The conservation project, after the documentation phase and laser scans drawings, started in 2015 with a pilot project in Meru C3, chosen in agreement with the FAD, because included all the set of problems to be faced in the rest of the merus and the gallery of the sacred area of Wat Chai. During the pilot project, six workshops have been organized, held by international experts, to share with the FAD staff, conservators, archaeologists, architects, engineers, the main conservation issues affecting Wat Chai and consequentially other archaeological sites in Ayutthaya with common set of problems. In this moment we are starting the conservation of the third meru, Meru C5, with a team of 8 technicians, leaded by the chief mason, Khun Mali, that has a long experience and worked for about 25 years with the FAD, a group of 5 conservators, that have been trained since almost 6 years now, and a project architect who manage all the documentation aspect of the project and prepares all the drawings to share with the FAD, the condition survey, the intervention proposal and all details necessary to share the ongoing process. Of course, the documentation will also be an added value for the archives to track the history of the monument. Methods and materials for the intervention have been discussed and new way of intervene, for instance to stabilize the original stucco detached from the masonry, has been implemented.
ระหว่างการทำงานมีความท้าทายเรื่องใดที่ไม่คาดฝันมาก่อนบ้างไหม จัดการกับมันอย่างไร
ในช่วงแรกของโครงการ เรามีความลำบากในการสร้างทีมปฏิบัติงาน แต่ก็ได้รับความช่วยเหลือจากกรมศิลปากรในการจัดหาช่างอิฐและช่างปูน และรับสมัครนักศึกษาจบใหม่ที่สนใจในสาขางานอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ความท้าทายที่สำคัญคือ ในประเทศไทยยังไม่มีสาขาวิชาที่สร้างนักอนุรักษ์ และยังไม่มีอาชีพนี้ นักอนุรักษ์คือผู้ที่มีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรม เข้าใจวัสดุต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโบราณสถาน โบราณวัตถุ และมีความรู้ทางเคมีและชีววิทยาสำหรับงานอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ นักอนุรักษ์จะทำงานร่วมกับสถาปนิก นักโบราณคดี วิศวกร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ประเทศไทยมีมรดกทางวัฒนธรรมมากมาย จำเป็นต้องสร้างบุคคลที่มีคุณสมบัติข้างต้นมาทำงาน สำหรับนักอนุรักษ์ที่ชำนาญการของกรมศิลปากรนั้นมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนของโบราณสถานในประเทศที่มีมหาศาล ถ้ามีผู้ประกอบอาชีพนี้ในภาคเอกชนที่กรมศิลปากรสามารถว่าจ้างให้ปฏิบัติงานได้ ก็จะสามารถช่วยลดภาระงานและเกิดการอนุรักษ์โบราณสถานมากขึ้น
Have there been any unexpected challenges along the way and how did you deal with them?
At the beginning was not easy to build up a team, but with the support of the FAD we could find the group of technicians, the mason and a group of young fresh graduated people that were interested to build their carrier in conservation of cultural heritage. The big challenge is that there is not yet the educational path to become a “conservator” and there is not the profession itself. The conservator is someone who has a wide background on cultural heritage and its constituent materials, that has a knowledge of chemistry and biology for instance, applied to cultural heritage. The conservator works in partnership with architects, archaeologists, engineers etc..and all the stakeholders of a monument. Thailand cultural heritage is so rich and need this “figure”. The very skilled conservators of the FAD are so few in comparison with the huge number of national monuments in the country and if they had these professionals as contractors their work would be eased.
อุปสรรคใหญ่ที่สุดในการทำงานครั้งนี้คืออะไรบ้าง มีวิธีการรับมืออย่างไร สำเร็จหรือไม่
โดยปกติแล้วโครงการขนาดใหญ่มักพบอุปสรรคต่าง ๆ อยู่เสมอ แต่โดยรวมแล้วโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามสามารถก้าวข้ามอุปสรรคไปได้อย่างราบรื่น จากการค่อย ๆ เรียนรู้ว่าควรดำเนินงานในทิศทางใด
What is the biggest obstacle in this project? How do you deal with it and can you overcome it?
I think that all big projects meet obstacles on the way, small or big, we could overcome them smoothly, learning how to proceed and do better and better!
การทำงานร่วมกันระหว่างทีมงานจาก World Monuments Fund กรมศิลปากร และช่างฝีมือชาวไทย เป็นอย่างไรบ้าง
การทำงานร่วมกันเป็นไปด้วยดี ปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 ปีแล้ว ตอนนี้ทุกอย่างลงตัวและราบรื่น ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และร่วมกันวางแนวทางการทำงานและวิธีการอนุรักษ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับวัดไชยวัฒนาราม มีการจัดฝึกอบรมปฏิบัติ จัดการประชุมและการอภิปราย รวมถึงร่วมกันทดลองวัสดุและวิธีการอนุรักษ์ต่าง ๆ ในช่วงแรกของโครงการ
How is the cooperation between WMF, FAD, and Thai technicians?
The cooperation is working very well, we experienced about 6 years now and we can say that we found the good pace to proceed and carry on the project in “tandem”. We shared our knowledge since the beginning and we built up the best methods suitable for Wat Chai after the workshops, meetings, round-tables and testing campaigns carried out the first phases of the project.
World Monuments Fund เคยดำเนินการในพื้นที่โบราณสถานอื่นๆ มาก่อนหรือไม่ ก่อนที่จะเข้ามาดูแลการบูรณะวัดไชยวัฒนาราม
World Monuments Fund เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร ทำงานด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลากว่า 50 ปี โดยได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ มาแล้วมากกว่า 700 โครงการ ใน 112 ประเทศทั่วโลก สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ WMF มีโครงการอนุรักษ์ที่นครวัด เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ซึ่งดำเนินงานมาเกือบ 30 ปีแล้ว และที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์
สำหรับโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม เริ่มขึ้นหลังเกิดเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2554 โดยมีจุดประสงค์หลักในการเสริมความแข็งแรงทางโครงสร้างและอนุรักษ์วัสดุประเภทต่าง ๆ ที่พบในโบราณสถาน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่เสี่ยงต่ออุทกภัย นอกจากนี้ ด้วยแนวทางการทำงานของ WMF ที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านหลักการทำงานอนุรักษ์ ทางองค์กรได้จัดทำแผนงานฝึกหัดอาชีพ รวมเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานอนุรักษ์ โดยใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของวัดไชยวัฒนารามเป็นตัวอย่างในการจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่พบได้เช่นเดียวกันในโบราณสถานอื่น ๆ ของอยุธยา
Have WMF worked in other archaeological sites before Wat Chai?
WMF is a private non profit organization, concerned about the preservation of cultural heritage, that in over 50 years has orchestrated over 700 projects in 112 countries. Wat Chai project started after the dramatic 2011 flooding at Ayutthaya where the main objectives were to strengthen the methods of structural preservation and conservation of bricks masonry and stucco, and of course wood and finishing materials as lacquer, gold foil and paintings, in historic architecture located within flood zones. In keeping with WMF’s social impact through preservation philosophy, WMF defined a program of training that was embedded into conservation and used model architectural elements that exemplified the challenges faced at greater Ayutthaya.
นอกจากการซ่อมแซมแล้ว World Monuments Fund มีมาตรการในการป้องกัน หรือรับมือภัยธรรมชาติต่างๆ อย่างไรบ้าง หรือในความคิดเห็นส่วนตัวของคุณโจเซฟิน ควรดำเนินการอย่างไร
อย่างที่ได้กล่าวไว้ว่าหลังเหตุอุทกภัยในปี 2554 WMF ได้เข้ามาร่วมทำงานกับกรมศิลปากร ในการบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัยและความเสื่อมสภาพของวัสดุ โดยได้มีการทำเลเซอร์สแกน สร้างกำแพงกั้นน้ำฝั่งทิศใต้ขึ้นใหม่ สำรวจความจำเป็นเบื้องต้น ทดสอบตัวอย่างวัสดุของโบราณสถาน และจัดทำแผนการระบายน้ำและบรรเทาเหตุอุทกภัย
สำหรับตัวดิฉันเอง ในฐานะที่เป็นนักอนุรักษ์ คิดว่าว่านอกจากแผนการรับมือต่าง ๆ แล้ว ควรมีการดูแลรักษาโบราณสถาน รวมทั้งแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมต่างๆให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงเสมอ เนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดและรุนแรงแค่ไหน ซึ่งการรักษาสภาพนี้นอกจากจะทำผ่านการดำเนินงานอนุรักษ์แล้ว ฉันคิดว่าการเฝ้าระวังและบำรุงรักษาอย่างเป็นประจำก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะช่วยทำให้วัสดุต่าง ๆ อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงและพร้อมเผชิญภัยพิบัติต่าง ๆ ได้ดีขึ้น รวมถึงควรสร้างทีมปฏิบัติงานของกรมศิลปากรที่มีความรู้ด้านการอนุรักษ์ เพื่อลงมือดูแลรักษาในเบื้องต้นหากเกิดเหตุใดๆ ต่อโบราณสถาน จะได้บรรเทาความเสียหายอย่างทันท่วงที หากทำได้ตามนี้ระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะน้อยลง ฟังดูอาจเป็นงานที่ทำได้ง่าย แต่จริง ๆ แล้วการปฏิบัติตามแผนการบำรุงรักษาอาจจัดการได้ยากกว่าการปฏิบัติงานอนุรักษ์ด้วยซ้ำ
Apart from restoration, what are the preventive measures against natural disasters that WMF follow? Or in your opinion, Josephine’s, what should be done in this aspect?
As mentioned, the severe flooding of the site in 2011 initiated the Fine Arts Department (FAD) to invite the World Monuments Fund (WMF) to assist in the mitigation of further flood damage and materials deterioration. Since the involvement of the World Monuments Fund, the site has been laser scanned, a south enclosure wall has been constructed, a Phase I Initial Needs Assessment and a Phase II Testing Report have been prepared, and a drainage and flood mitigation plan has been prepared. The FAD and the Ayutthaya Archaeological Park improved the protection of the site with a floodgate that is lifted up when needed and a team of specialized technicians that intervene on site.
As a conservator I think that in addition of the mentioned measures, as natural disasters are not predictable, as is not predictable its breadth as well, would be always good that the monuments-the archaeological sites or whatever cultural heritage, should always be in good condition. And apart the restoration itself, I think that monitoring the site and performing always a regular maintenance would keep all the constituent materials stable and stronger to face any eventuality. Furthermore, a team prepared to do a “first aid” to immediately act correctly, therefore with a knowledge in preservation, to reduce damages that can be immediately managed, should be part of the FAD staff. The damages from a natural disaster would be less than if the monument was in bad conditions before. I know it seems a simple thought but actually implementing a maintenance strategy could be more demanding than a conservation intervention!
ความรู้สึกระหว่างที่ได้มาร่วมโครงการนี้เป็นอย่างไรบ้าง
ดิฉันรู้สึกว่าการทำงานโครงการนี้เป็นโอกาสที่ดีมากในการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับวัดไชยวัฒนาราม และการอนุรักษ์โบราณสถานในอยุธยา การทำงานร่วมกันระหว่างกรมศิลปากรและ WMF ก็เป็นโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องความจำเป็นต่าง ๆ ของมรดกทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ในปีที่แล้วเรายังได้ต้อนรับกลุ่มนิสิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ามาทัศนศึกษาและสัมผัสงานอนุรักษ์ในพื้นที่โดยตรง รวมทั้งได้รับเชิญจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปพูดบรรยายเกี่ยวกับโครงการให้นักศึกษาฟัง หนึ่งในเป้าหมายหลักของโครงการคือการเปิดให้วัดไชยวัฒนารามเป็นห้องเรียนงานอนุรักษ์ จึงหวังให้กิจกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยย้ำเตือนถึงความสำคัญในการสร้างสาขาวิชาการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม แยกไปตามประเภทงานต่าง ๆ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ จิตรกรรม งานไม้ ดิฉันเองรู้สึกได้ว่านิสิตนักศึกษาเหล่านี้มีความสนใจด้านงานอนุรักษ์อย่างแท้จริง จึงอยากให้ความสนใจนี้เผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่มีความตั้งใจได้ประกอบอาชีพทำงานด้านการอนุรักษ์มรดกของประเทศ
How do you feel about this project?
I feel that the project was a great opportunity to strength the knowledge of Wat Chaiwatthanaram and the conservation of archeological sites in Ayutthaya, and created the good team, WMF and FAD, and the good occasion to learn more and more about the needs of our cultural heritage. Since 2019, we had also the opportunity to host groups of students from the faculty of architecture from Chulalongkorn University, to participate to study trips aimed to give them a direct experience in the field and hopefully transmitting the need to have a specific course in Conservation of Cultural heritage, divided for each specific field: archeological sites, paintings, artifacts, woodwork etc..
We have also been invited from the faculty of architecture of Silpakorn University to talk about the project to students interested in conservation. I felt a genuine interest among all the students we met. We hope that these interests will be shared, and will involve many students that will want to dedicate their profession in conservation and restoration of the rich Thai heritage. One of the goals of the Project is Wat Chai Project as a classroom!
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานบูรณะวัดไชยวัฒนารามคืออะไร
ได้เรียนรู้หลายอย่างมาก อย่างแรกคือความหลากหลายในทักษะและฝีมือของทีมปฏิบัติงานชาวไทย ในด้านเทคนิคก็ได้เรียนรู้วิธีการจัดการวัสดุโบราณของไทย โดยเฉพาะงานประดับตกแต่งที่มีความประณีตและซ่อนความหมายผ่านสัญลักษณ์ รวมทั้งได้สัมผัสถึงความสวยงามของประเทศไทยและคนไทย จึงตั้งใจที่จะทำงานอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามให้ดีที่สุด ให้สมกับคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมไทย
What have you learned from working in this project?
Many things! Starting with the versatility and professionalism of the Thai staff; the excellent relations established with them; I learned how beautiful is this country and its people to deserve our best efforts to bring Wat Chai back to its ancient glory. From the technical point of view I learnt to deal with the conservation of the traditional Thai decorative techniques with all its details and its hidden symbolic meanings.
Comentarios