ปูนซีเมนต์: ศัตรูตัวฉกาจในงานอนุรักษ์โบราณสถาน-Cement: Adversary Material in Historical Preservation
อัปเดตเมื่อ 2 ต.ค. 2565
วราภรณ์ สุวัฒนโชติกุล
Waraporn Suwatchotikul
ภาพการรื้อถอนปูนซีเมนต์ที่วัดไชย
Hardwork of Removing Cement Repairs at Wat Chai
The choice of material is of great importance in the preservation of historic monuments. There is a set of criteria to consider in defining appropriate materials that will beneficially prolong the life of historic buildings and artefacts instead of causing them more harm or accelerating their deteriorations. One main factor that determines this outcome is the compatibility between the material chosen for executing interventions and the original or existing material to be conserved. The once-common use of modern cement mortar with historic buildings is now a well-studied topic that exemplifies the failure of the principle of material compatibility.
วัสดุที่ใช้ทำงานบูรณะซ่อมแซมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในงานอนุรักษ์โบราณสถาน การเลือกวัสดุที่เหมาะสมต้องพิจารณาตามเกณฑ์คุณสมบัติ เพื่อช่วยยืดอายุของโบราณสถานและโบราณวัตถุ รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติม หรือไปมีส่วนในการเร่งกระบวนการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ ปัจจัยหลักข้อหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดผลการอนุรักษ์คือ ความเข้ากันได้ระหว่างวัสดุใหม่กับวัสดุดั้งเดิมหรือวัสดุที่คงเหลืออยู่ ทั้งนี้ ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในงานบูรณะกันอย่างแพร่หลายในอดีตนั้น ปัจจุบันถือว่าเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงและศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดในวงการอนุรักษ์ รวมทั้งเป็นประจักษ์พยานที่เด่นชัดของความล้มเหลวในหลักการเรื่องความเข้ากันได้ของวัสดุ
Several decades ago, the practice of using Portland cement was widely adopted in the restoration of archaeological sites around the world, including Wat Chaiwatthanaram. At Wat Chai, cement was utilized as a main material for reconstructing masonry and stabilizing stucco in a 1990s conservation campaign. Cement-based mortar can be prevalently found in the joints of exterior bricks, such as at string-course areas. It was also applied for sealing detached plaster edges, repairing stucco decorative elements, and covering some exposed brick surfaces. At your next visit to the site, or any brick monument in Thailand, try hunting for cement repairs and you will find them everywhere.
ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา การดำเนินงานบูรณะโดยใช้ปูนซีเมนต์นั้นเป็นที่นิยมแพร่หลายในงานอนุรักษ์โบราณสถานทั่วโลก รวมทั้งที่วัดไชยวัฒนาราม มีการใช้ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุหลักในการบูรณะงานอิฐและเสริมความมั่นคงงานปูนระหว่างโครงการอนุรักษ์ในช่วงปี 2530 - 2535 โดยพบปูนที่ใช้ปูนซีเมนต์เป็นส่วนผสมหลักอยู่ในร่องอิฐ โดยเฉพาะบริเวณพื้นดาดเหนือคิ้วบัวของอาคาร รวมถึงใช้ในการจับขอบปูนฉาบที่หลุดร่วง ซ่อมแซมชิ้นส่วนปูน และฉาบปิดอิฐเพื่อเสริมความมั่นคง หากท่านผู้อ่านมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมวัดไชยวัฒนารามรวมทั้งโบราณสถานก่ออิฐแห่งอื่นๆในประเทศไทยในครั้งหน้า ลองมองหางานบูรณะที่เคยใช้ปูนซีเมนต์ แล้วท่านจะพบว่ามีการใช้ปูนซีเมนต์อยู่เกือบทุกที่
However, the architecture of Wat Chai, as well as many other historical buildings, is a formation of traditional bricks and lime mortar of which physical, mechanical, and chemical properties are different from those of cement. The 19th century-invented material is basically stronger, more rigid, and, most importantly, retains moisture longer. These differences can negatively affect historical materials by speeding up their deterioration processes. For example, the application of cement to traditional brick masonry disrupts a constructed system in which mortar allows a wall to dry effectively through its joints. While traditional lime is permeable and facilitates this system, cement mortar blocks humidity and forces it to evaporate through more breathable passages which are traditional bricks and existing lime-based mortar and stucco. An often-found deterioration pattern is where bricks are eroded and hallowed among a “table” of completely intact cement mortar. Moreover, with its high salt content, cement can also create crystallization on historic surfaces, slowly disintegrating material composition. This occurs when soluble salts in cement dry and stay on the surface of original materials after the evaporation of moisture. In short, cement is too strong, too impermeable, too salty, and consequently incompatible with traditional bricks and lime.
อย่างไรก็ตาม วัดไชยวัฒนารามและโบราณสถานอีกหลายแห่ง ก่อสร้างขึ้นจากอิฐที่มีกรรมวิธีผลิตแบบโบราณและใช้ปูนที่มีปูนขาวเป็นส่วนผสมหลัก ที่สำคัญคือมีคุณลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี และคุณสมบัติเชิงกลที่ต่างไปจากปูนซีเมนต์ อันเป็นวัสดุที่ถือเป็นนวัตกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปูนซีเมนต์นั้นมีความแข็งแรงกว่า แกร่งกว่า และที่สำคัญอย่างยิ่ง สามารถกักเก็บความชื้นได้นานกว่า ข้อแตกต่างเหล่านี้ส่งผลเสียต่อวัสดุโบราณ โดยมีส่วนเร่งกระบวนการเสื่อมสภาพ ตัวอย่างเช่น การใช้ปูนซีเมนต์กับกำแพงอิฐโบราณเป็นการรบกวนและขัดขวางระบบการระบายความชื้น โดยธรรมชาตินั้นความชื้นจะถูกระบายออกมาจากกำแพงอย่างมีประสิทธิภาพผ่านปูนสอโบราณที่อยู่ในร่องระหว่างอิฐ ปูนขาวที่เป็นส่วนผสมหลักของปูนโบราณมีคุณสมบัติที่อนุญาตให้ความชื้นผ่านไปได้ ซึ่งถือเป็นบทบาทสำคัญในระบบระบายความชื้นนี้ ขณะที่ปูนซีเมนต์นอกจากจะมีคุณสมบัติกักเก็บความชื้นแล้วยังบังคับให้ความชื้นระบายออกมาผ่านช่องทางของวัสดุที่มีรูพรุนมากกว่า นั่นก็คืออิฐโบราณ (หรืออิฐที่ผ่านกระบวนการผลิตแบบโบราณ) ปูนสอโบราณ และปูนฉาบโบราณ ทั้งนี้ รูปแบบความเสื่อมสภาพที่มักพบจากการใช้ปูนซีเมนต์คือ อิฐมีความผุกร่อนและหลุดร่วงออกไปจากช่อง “ขอบตาราง” ของปูนซีเมนต์ที่ยังแข็งแรงสมบูรณ์อยู่ เกิดเป็นช่องโหว่ว่างของกำแพง ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากปูนซีเมนต์มีส่วนผสมที่เป็นเกลือค่อนข้างมาก ก่อให้เกิดการตกผลึกบนพื้นผิววัสดุ จึงมีส่วนทำให้เนื้อวัสดุค่อย ๆ แยกออกจากกัน การตกผลึกนี้เกิดขึ้นเมื่อส่วนผสมเกลือที่ละลายน้ำได้ แห้งตัวและหลงเหลืออยู่บนพื้นผิววัสดุหลังจากความชื้นถูกระบายออกไป กล่าวโดยสรุปก็คือ ปูนซีเมนต์แข็งแกร่งเกินไป กักเก็บความชื้นได้มากเกินไป และมีเกลือมากเกินไป จึงไม่อาจเข้ากันได้กับวัสดุอิฐและปูนโบราณ
ภาพอิฐที่มีความผุกร่อนและหลุดร่วงออกไปจากช่อง “ขอบตาราง”
ของปูนซีเมนต์ที่ยังแข็งแรงสมบูรณ์อยู่ เกิดเป็นช่องโหว่ว่างของกำแพง
ภาพก่อน - หลังการรื้อถอนซ่อมปูนซีมนต์ และนำอิฐที่ก่อผิดรูปด้วยปูนซีเมต์ออก
ภายหลังก่ออิฐใหม่และเสริมความมั่นคงวัสดุที่เมรุของวัดไชย
Before - After of Cement Repairs and Material stability
and Compatibility at Meru, Wat Chai
What to do to minimize the effect of past cement repairs on historic buildings? For Wat Chaiwatthanaram conservation project, the project collaboration with the Thai Ministry of Culture and its Fine Arts Department of Thailand (FAD) and World Monuments Fund (WMF), sponsored by the U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP), which supports the preservation of cultural heritage and other WMF donors, especially the Robert W. Wilson Challenge Fund. At Wat Chai, previous interventions done in cement are carefully reviewed for removal provided that the action doesn’t affect original materials. The removal of cement is one of the time-consuming and effort-demanding tasks in the project. Cement repairs on stucco are patiently taken out while cement-pointed masonry is disassembled with a great care. In substituting these repairs and further stabilizing the monument, the project highlights the principle of material compatibility by turning back to the historic material of lime.
ประเด็นที่ตามมาจากการศึกษาปูนซีเมนต์ที่เคยใช้ในงานบูรณะคือ จะมีวิธีการอย่างไรเพื่อช่วยลดผลกระทบและความเสียหายของงานอนุรักษ์โบราณสถานที่เคยใช้ปูนซีเมนต์ สำหรับโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร กองทุนโบราณสถานโลก (World Monuments Fund หรือ WMF) และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยนั้น งานบูรณะที่เคยใช้ปูนซีเมนต์ในอดีตจะถูกพิจารณาให้ทำการรื้อถอน หากประเมินแล้วว่าการรื้อถอนนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อวัสดุดั้งเดิม การดำเนินงานรื้อถอนปูนซีเมนต์ถือเป็นหนึ่งในงานที่ใช้ทั้งเวลาและพละกำลังมากที่สุดของโครงการ ปูนซีเมนต์ที่ปรากฎอยู่บนงานปูนโบราณจะค่อย ๆ ถูกกะเทาะออก ส่วนที่พบในงานอิฐนั้นจะถูกรื้อถอนด้วยความระมัดระวัง ทั้งนี้ ในการบูรณะทดแทนส่วนที่รื้อถอนปูนซีเมนต์ออกไป จะใช้การเสริมความมั่นคงของโบราณสถานโดยรวม ซึ่งโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามนั้นได้เน้นย้ำความสำคัญของหลักการเรื่องความเข้ากันได้ของวัสดุทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เราจึงหวนกลับไปใช้วัสดุดั้งเดิมของงานช่างโบราณอย่างการใช้ปูนขาวเป็นวัสดุหลักในงานอนุรักษ์
As traditional knowledge about limes was largely lost due to the shift to modern cement usage, not many masons nowadays know how to deal with lime. In an attempt to revive this skill among heritage practitioners in Thailand, Wat Chai project technicians and conservators have been trained to work with lime from start to finish. The process includes slaking lime for at least six months to reach desired quality, preparing lime putty with aggregates for different interventions, treating original materials with lime-based mortar mixes, and properly handling lime-based repairs for timely setting. Under its mission to build local capacity in parallel with physically restoring Wat Chai, the project also enthusiastically promotes the practice of using lime for the conservation of other brick monument sites. Hopefully, with more understanding in and more priority given to the material compatibility concept, the use of cement on historic buildings will be regulated and also, ultimately prohibited.
องค์ความรู้เกี่ยวกับปูนขาวได้สูญหายไปตามกาลเวลาหลังจากมีการเปลี่ยนไปใช้ปูนซีเมนต์ ในปัจจุบันมีช่างอิฐเพียงไม่กี่คนที่รู้วิธีการทำงานอย่างเชียวชาญกับปูนขาว โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามจึงตั้งเป้าหมายในการรื้อฟื้นทักษะการทำงานโดยใช้งานปูนขาวให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอนุรักษ์ โดยทำการฝึกอบรมนักอนุรักษ์และช่างอนุรักษ์ของโครงการให้เรียนรู้วิธีการทำงานด้วยปูนขาว ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ อันได้แก่ การหมักปูนขาวไว้อย่างน้อย 6 เดือนเพื่อให้ได้คุณสมบัติที่ต้องการ การเตรียมผสมปูนขาวกับส่วนผสมอื่น ๆ เช่น ทรายที่มีขนาดและสีต่างกัน เพื่อใช้ทำงานอนุรักษ์ การซ่อมแซมวัสดุโบราณด้วยปูนที่เตรียมไว้ (ซึ่งใช้ปูนขาวเป็นส่วนผสม) และการดูแลรักษางานบูรณะที่ใช้ปูนขาว เพื่อให้ปูนเซ็ตตัวได้ตามระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ ด้วยภารกิจของโครงการที่มุ่งเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์โบราณสถานที่วัดไชยวัฒนาราม ทางโครงการจึงได้สนับสนุนให้มีการใช้ปูนขาวในงานอนุรักษ์โบราณสถานก่ออิฐแห่งอื่น ๆ ของประเทศไทยด้วย โดยมุ่งหวังว่า หากมีการทำความเข้าใจและให้ความสำคัญต่อแนวคิดเรื่องความเข้ากันได้ของวัสดุมากยิ่งขึ้นแล้ว การใช้ปูนซีเมนต์ในงานโบราณสถานควรจะต้องถูกควบคุม และถูกห้ามใช้อย่างเด็ดขาดในที่สุด
Comments