การออกแบบประตูกันนกที่เมรุวัดไชยวัฒนาราม Meru's Bird Prevention Door
การออกแบบเพื่อป้องกันสัตว์รบกวนในโบราณสถาน ส่วนหนึ่งของโครงการฝึกงานที่วัดไชยวัฒนาราม
Design by
Nopasin Chaiparichat
นพสินธุ์ ชัยปาริฉัตร์
นักศึกษาฝึกงานโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม ปี 2564
Intern of Wat Chaiwatthanaram Conservation Project (AFCP Wat Chai Internship 2021)
หลายท่านคงพบเจอความแตกต่าง เมื่อนั่งรถจากกรุงเทพฯ ออกไปในพื้นที่ต่างจังหวัด สภาพภูมิประเทศ ภาษาหรือสำเนียงของผู้คน พืชพรรณ สัตว์น้อยใหญ่ นก สัตว์มีปีก เชื่อว่าความแตกต่างหลากหลายเหล่านี้ย่อมเป็นที่ประจักษ์ และเมื่อเปรียบเทียบมุมมองที่ท่านพบเจอสิ่งเหล่านี้ที่กรุงเทพฯและต่างจังหวัด แตกต่างกันในด้านความรู้สึกหรือไม่ อย่างไร?
หากกล่าวถึงนกและสัตว์มีปีกท่านอาจนึกถึงนกตัวเล็กๆ สีสันสดใส บินเล่นกันดูเพลิดเพลิน หรืออาจเป็นสัตว์ปีกขนาดใหญ่ที่มีท่วงท่าการบินสง่างาม หรืออาจนึกคิดไปไกลถึงนกฮูก นกเค้าแมว หรือค้างคาว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่บินได้ ออกหากินเวลากลางคืน
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความงามที่ธรรมชาติรังสรรค์ให้กับโลกนี้ทั้งนั้น สัตว์ที่ดูเป็นมิตร เมื่อปรากฎแก่สายตามนุษย์ แต่สำหรับอาคารโบราณสถานกลับเป็นภัยอันร้ายแรง ทั้งที่สัตว์ดังกล่าวแค่ทำหน้าที่ตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการอยู่อาศัย ทำรัง ออกหากิน เลี้ยงดูลูก และขับถ่าย
Have you ever noticed these feelings when cruising through the countryside, looking past the windshield? Gazing at an everchanging landscape, culture, people, and its wildlife whether it’s plant, animals, or birds. But there’s some matters to think about when it comes to a bird. First thought about small flying animals that varies in size, shape, and colors. Some may even think about its neighbors like bats or owls, which operate in the nocturnal shift.
This instance marks the beauty of nature’s creation. Animals that happen to look nice and friendly when we look at them but they are archaeological site’s worst nightmare. Of course, those animals just minding their own business and order that is given by mother nature which consists of raising its babies or finding its food source or in some cases excrete feces.
โบราณสถานทุกแห่งต่างได้รับอันตรายจากการขับถ่ายที่คาดเดายากของสัตว์เหล่านี้ รวมถึงที่วัดไชยวัฒนาราม แต่เดิมเมรุต่างๆ รวมไปถึงพื้นที่ระเบียงคดนั้น ล้วนเป็นพื้นที่ภายใน มีการจำกัดการเข้าถึงของทั้งคนและสัตว์ แต่บัดนี้ความเสียหายจากการถูกทิ้งร้างและการขาดการดูแลรักษามาเนิ่นนานก่อนที่จะมีโครงการอนุรักษ์ฯ บริเวณดังกล่าวได้กลายสภาพจากพื้นที่ภายในมาเป็นพื้นที่ภายนอก และได้กลายเป็นพื้นที่อาศัยของนกและค้างคาวในทันที
ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูเมรุทิศเมรุรายที่วัดไชยวัฒนารามซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกองทุนโบราณสถานโลก และกรมศิลปากรนั้น เมื่องานทั้งหมดเสร็จสิ้นลง ภารกิจต่อไปที่มีความสำคัญไม่น้อยคือการป้องกันและการบำรุงรักษา เมื่อพิจารณาพื้นที่ของวัดไชยวัฒนาราม แน่นอนว่าทางเข้าออกของสัตว์รบกวนที่ต้องคำนึงเป็นอันดับแรกคือซุ้มประตูที่เชื่อมต่อระหว่างองค์เมรุกับระเบียงคด การออกแบบเพื่อการอนุรักษ์ โดยป้องกันไม่ให้สัตว์เหล่านี้กลับเข้าไปรบกวนภายในโบราณสถานได้อีก จึงนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
ภายในซุ้มประตูที่จะติดตั้งประตูกันนก
All old archaeological sites, including Wat Chaiwatthanaram have been affected by those flying animals. Historically, all spaces inside its meru and colonnade are considered an interior space, so the circulation of both animals and humans was limited. And as time went by, those space didn’t get any necessary maintenance, so the roof structure got damaged. The area that was once an interior part of the compound now becomes exterior and ended up becoming a bird’s residence.
When it comes to conserving parts, it is necessary to make a door to help protect the meru’s interior from further damages from birds and bats.
แนวคิดและข้อคำนึงในการออกแบบประตูกันนกนั้นจำเป็นต้องคงไว้ซึ่งเสน่ห์ด้านมุมมองและทัศนียภาพของเมรุวัดไชยวัฒนาราม กล่าวคือ เมื่อมองไปตามระเบียงคดจะพบความโปร่งทางสายตาที่ทอดยาวจากเมรุหนึ่งไปถึงเมรุหนึ่ง มุมมองซึ่งดำเนินไปถึงปลายตาและมองเห็นพระประธานภายในองค์เมรุ รวมถึงจำเป็นต้องออกแบบให้มีการถ่ายเทของอากาศจากภายในไปสู่ภายนอกได้โดยสะดวก
การก่อสร้างต้องไม่ก่อความเสียหายให้กับโบราณสถาน ดังนั้นการออกแบบจะต้องไม่ยึดติดกรอบประตูกับส่วนใดส่วนหนึ่งของผนังเมรุเลย จากปัจจัยแวดล้อม บริบทในพื้นที่และข้อจำกัดดังกล่าว จึงทำให้เกิดแนวคิดในการออกแบบที่คล้อยไปตามลักษณะของซุ้มทางเข้า/ออกของเมรุ รวมถึงเปิดมุมมองทางสายตาของพระพุทธรูปภายในให้ไม่ไปขัดขวางการมองเห็นที่เชื่อมต่อกันในแต่ละเมรุ ประตูกันนกนี้ออกแบบให้ถอดประกอบได้ สามารถเคลื่อนย้ายได้หากมีความจำเป็น และใช้วัสดุประเภทไม้ เลือกใช้ตะแกรงเหล็กฉีกที่มีขนาด ชนิดและมีความถี่ที่ไม่บดบังต่อการมองเห็น ในขณะเดียวกันก็ป้องกันนกและสัตว์รบกวนอื่นๆได้ดี
The criteria of this door design by maintain the visibility of perspective when looking down the colonnade into the other meru, and also design to permit a possible ventilation between inside and outside space. And must be a temporary structure that can be moved if needed.
Creating this door, I also added some touches to make the door relatable to the whole character of the Meru by using the meru's curving outline on the form of the door.
I choose wood as a door frame and expanded metal mesh as a panel. Thing to be consider when choosing the right sizing for the expanded metal mesh is its size that must match the criteria above.
תגובות