WAT CHAI STORY: เรื่องเล่าจากวัดไชย ตอนที่ 1
- คิดอย่าง
- 8 ส.ค. 2564
- ยาว 4 นาที
อัปเดตเมื่อ 25 ต.ค. 2564
โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม: จากโบราณสถานที่ประสบอุทกภัยสู่การเป็นห้องเรียนอนุรักษ์
Wat Chaiwatthanaram Conservation Project: From Flooded Monument
to Conservation Classroom
เรื่องโดย วราภรณ์ สุวัฒนโชติกุล
Waraporn Suwatchotikul

นับตั้งแต่เหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อพุทธศักราช 2554 ที่สร้างความเสียหายให้กับหลายพื้นที่ในประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอันเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญจำนวนมาก และยังคงเป็นภาพจำของใครหลายคน "วัดไชยวัฒนาราม" โบราณสถานก่ออิฐสมัยอยุธยาตอนปลาย ศิลปกรรมสำคัญในสมัยพระเจ้าปราสาททองที่ได้รับการยกย่องว่ามีผังสวยงามโดดเด่นที่สุด ต้องจมอยู่ภายใต้ระดับน้ำที่ท่วมสูงขึ้นมาเกือบ 2.50 เมตร ถือเป็นระดับความสูงที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ภาพดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปยังสำนักข่าว และสื่อออนไลน์ สร้างความสะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง
จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้เสนอแนวทางการให้ความช่วยเหลือด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยสนับสนุน และจัดสรรงบประมาณผ่านกรมศิลปากร หน่วยงานหลักในการปกป้อง ดูแล และฟื้นฟูแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีกองทุนโบราณสถานโลกหรือ World Monuments Fund (WMF) ทำหน้าที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านเงินทุน ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการดำเนินงานอนุรักษ์ด้วย
In 2011, a severe flood swept through Thailand, including Ayutthaya Province, where many important historical places were affected, leaving an unforgettable memory on Thai people. Among the inundated sites was Wat Chaiwatthanaram, a renowned temple complex from Late Ayutthaya Period built in King Prasat Thong's reign. Wat Chaiwatthanaram, or Wat Chai as locals call it, was submerged under an unprecedented 2.5 meters of water. News agencies and on social media, dramatic photos were shared of the site's dire state.
After surveying the damage with Thai officials, the U.S. State Department, through the U.S. Embassy in Thailand, offered financial support to the Thai Ministry of Culture and its Fine Arts Department of Thailand (FAD) through collaboration with World Monuments Fund (WMF) in several preservation objectives at Wat Chaiwatthanaram. Initially built on mitigating future flood damage, FAD-WMF's partnership evolved into a pilot conservation project at Wat Chaiwatthanaram’s Merus, the conical towers that give the monument its special, iconic appearance.

ชื่อกองทุนโบราณสถานโลกหรือ World Monuments Fund (WMF) หลายคนอาจยังไม่คุ้นนัก กองทุนโบราณสถานโลก (WMF) เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลากว่า 50 ปี เน้นทำงานด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม โดยได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ มาแล้วมากกว่า 600 โครงการ ใน 90 ประเทศทั่วโลก สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กองทุนโบราณสถานโลก (WMF) มีโครงการอนุรักษ์ที่ชเวนันดอว์ เจาง์ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ และที่ปราสาทพนมบาแกง เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา โครงการนี้ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเกือบ 30 ปีแล้ว สำหรับโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามที่อยู่ในความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร กองทุนโบราณสถานโลก (WMF) และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยนั้นได้รับงบประมาณผ่านกองทุนเอกอัครราชทูตเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (The U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation หรือ AFCP) กองทุนที่สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมทั้งประเภทจับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ (Tangible and intangible heritage) นอกจากนี้ มูลนิธิโรเบิร์ต ดับบลิว วิลสัน (Robert W. Wilson Challenge) ยังได้สนับสนุนงบประมาณในการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามอีกทางหนึ่งด้วย
World Monuments Fund might not be a familiar name to Thai people. It is a U.S.-based, non-profit organization focused on preserving built cultural heritage. Over the 50 years since its establishment, WMF has funded over 600 projects in 90 countries worldwide. Among its current work in Southeast Asia, Shwe-nandaw Kyaung in Mandalay, Myanmar, and Phnom Bakheng in Siem Reap, Cambodia, where WMF has worked for almost 30 years. Like these projects, the Wat Chaiwatthanaram Project collaboration is sponsored by the U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP), which supports the preservation of cultural heritage and other WMF donors, especially the Robert W. Wilson Challenge Fund.
โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามค่อยๆ ก่อรูปขึ้นมาจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน เริ่มด้วยการสำรวจความเสื่อมสภาพวัสดุเพื่อประเมินการอนุรักษ์ รวบรวมข้อมูลเพื่อพัฒนาเป็นโครงการอนุรักษ์นำร่อง โดยมีจุดมุ่งหมายคือ อนุรักษ์ศิลปกรรมของวัดไชยวัฒนารามให้คงอยู่ในสภาพเดิมให้มากที่สุด วางแผนเพื่อป้องกันความเสียหายของโบราณสถานจากอุทกภัยในระยะยาวความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรและกองทุนโบราณสถานโลก (WMF) นี้ ต่อมาพัฒนาเป็นโครงการนำร่องเพื่ออนุรักษ์เมรุทิศ เมรุราย สถาปัตยกรรมอันเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้วัดไชยวัฒนารามมีความพิเศษและมีเอกลักษณ์โดดเด่น
Partnership at Wat Chaiwatthanaram began with a survey, monitoring, and documentation process, as part of that, a three-dimensional laser scanning of the site. The modeling composed from the scanning process assisted in flood and water drainage management planning and created opportunities for digitalized architectural drawings. Another effort was the design and reconstruction of Wat Chaiwatthanaram’s south enclosure that collapsed during the flood. In this early partnership project, WMF provided technical assistance to FAD in its construction. Partnership at Wat Chaiwatthanaram began with a survey, monitoring, and documentation process, as part of that, a three-dimensional laser scanning of the site. The modeling composed from the scanning process assisted in flood and water drainage management planning and created opportunities for digitalized architectural drawings. Another effort was the design and reconstruction of Wat Chaiwatthanaram’s south enclosure that collapsed during the flood. In this early partnership project, WMF provided technical assistance to FAD in its construction.
กระบวนการทำงานของโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามเริ่มต้นจากการเก็บบันทึกข้อมูล จัดทำภาพ 3 มิติ เพื่อนำไปสร้างแบบจำลองในการจัดการและบรรเทาอุทกภัย สร้างแผนการจัดการระบายน้ำ รวมทั้งจัดทำแบบสถาปัตยกรรม ความพยายามต่อมาและถือเป็นความร่วมมือครั้งแรกระหว่างกรมศิลปากรและกองทุนโบราณสถานโลก (WMF) คือการออกแบบและก่อสร้างกำแพงฝั่งทิศใต้ซึ่งเสียหายอย่างมากเมื่อคราวน้ำท่วม โดยกองทุนโบราณสถานโลก (WMF) จัดหาผู้เชี่ยวชาญให้กับกรมศิลปากร ต่อมาจัดทำรายงานการประเมินความจำเป็นขั้นต้นเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการบันทึกข้อมูล โดยกำหนดให้เมรุหมายเลข 3 (เมรุทิศ ฝั่งทิศใต้) เป็นพื้นที่ของโครงการอนุรักษ์นำร่อง โครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการอนุรักษ์เมรุองค์อื่นๆ อีกทั้ง 7 องค์ หลังจากนั้นมีการดำเนินการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่องที่เมรุหมายเลข 4 (เมรุมุมฝั่งทิศตะวันตกเฉียงใต้) และระเบียงคดที่เชื่อมระหว่างองค์เมรุ จวบจนปัจจุบัน โครงการได้ดำเนินการอนุรักษ์มาจนถึงเมรุหมายเลข 5 (เมรุทิศ ฝั่งทิศตะวันตก) รวมระเบียงคดที่เชื่อมระหว่างองค์เมรุ คือระเบียงคดระหว่างเมรุหมายเลข 5 และหมายเลข 6 (เมรุมุมฝั่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) ทั้งนี้ โครงการได้ยึดถือการทำงานตามหลักสากลว่าด้วยเรื่องการอนุรักษ์สิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ คำนึงถึงความเป็นซากโบราณสถานที่จะต้องอนุรักษ์โดยแทรกแซงโบราณสถานในระดับที่น้อยที่สุด มุ่งเสริมความมั่นคงของวัสดุดั้งเดิมโดยเสริมความแข็งแรงทางโครงสร้าง และคำนึงถึงการอนุรักษ์วัสดุหลากหลายประเภทของโบราณสถานซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัยด้วย
เป้าหมายหนึ่งที่สำคัญของโครงการคือการสร้างความยั่งยืนให้กับงานอนุรักษ์ กองทุนโบราณสถานโลก (WMF) จึงได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานให้กับบุคคลากรของโครงการ มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาเป็นวิทยากรเพื่อแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร โดยกำหนดหัวข้อให้มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาที่พบร่วมกันทั้งจากวัดไชยวัฒนาราม และจากโบราณสถานแห่งอื่นๆในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Afterward, Meru 3 (the south-central Meru) was identified for a pilot conservation initiative that, if successful, could be replicated to the other seven Merus. From its commencement, the Project completed Meru 4 and is now at Meru 5 and the former gallery between Meru 5 and Meru 6. Work moves clockwise around the central prang tower with plans to complete all merus and prang. The Wat Chaiwatthanaram Project follows international conservation standards for the preservation of historic buildings. Regarding its presentation as a ruined complex, one of those principles is a minimum intervention philosophy focusing on strengthening the original materials of the site and doing so concerning a high-risk flood zone.
In keeping with WMF’s long-term sustainability goal, a program of capacity-building training is embedded into the conservation process, utilizing Wat Chaiwatthanaram’s Merus as classrooms. A series of workshops are organized for WMF and FAD staff to exchange knowledge with visiting international conservation specialists. Topics revolve around Wat Chaiwatthanaram’s preservation challenges and their amplification toward other historical sites in Ayutthaya and Thailand, where similar challenges exist.
นอกเหนือไปจากงานบูรณะโบราณสถานที่กระทำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่พุทธศักราช 2558 โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามเล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมที่เป็นการเผยแพร่และส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับสถาบันการศึกษา โดยเน้นกลุ่มนิสิตนักศึกษาซึ่งเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่และจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต มีกิจกรรมทัศนศึกษาและฝึกอบรมปฏิบัติเพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาที่สนใจในงานอนุรักษ์ได้เรียนรู้และทดลองปฏิบัติงานในสถานที่จริง กิจกรรมดังกล่าวยังเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องการอนุรักษ์ตามหลักสากลให้กับประชาชน และถือเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามในอีกทางหนึ่งด้วย ตลอดการทำงานกว่า 5 ปี ที่ได้สั่งสมทักษะ ประสบการณ์จนเชื่อว่าถึงเวลาแล้วที่จะได้เผยแพร่องค์ความรู้นี้ผ่านการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ รวมไปถึงการเผยแพร่คอนเทนต์ที่จะเขียนลงเว็บไซต์ของ คิดอย่าง เป็นประจำทุกเดือน นับจากเดือนนี้เป็นต้นไป
โปรดติดตามสาระความรู้ และเรื่องราวสนุกๆที่เกิดขึ้นในไซต์งานของโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนรามได้ที่เว็บไซต์ของคิดอย่างในคอลัมน์ “คิดรักษ์” รวมทั้งติดตามข่าวสารการจัดกิจกรรมของโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามได้ที่เว็บไซต์เดียวกันนี้
The Wat Chaiwatthanaram Project also places importance on organizing outreach activities that engage the academic community, especially university students who will be an important force in developing the country in the future. Field trips, lectures, workshops, and internships provide opportunities to students interested in conservation. These activities serve as a channel to promote the Project and share in a historical preservation process. Having been in action for almost five years, the Wat Chaiwatthanaram Project believes that it's become seasoned enough to disseminate its collected knowledge and experience to the general public through the monthly publication of content on the KIDYANG website from now onward.
Please stay tuned to explore the worksite and activities at Wat Chaiwatthanaram via the "KID Ruk" (KID Preserves) column on the KIDYANG website. The Wat Chaiwatthanaram Project also places importance on organizing outreach activities that engage the academic community, especially university students who will be an important force in developing the country in the future. Field trips, lectures, workshops, and internships provide opportunities to students interested in conservation. These activities serve as a channel to promote the Project and share in a historical preservation process. Having been in action for almost five years, the Wat Chaiwatthanaram Project believes that it's become seasoned enough to disseminate its collected knowledge and experience to the general public through the monthly publication of content on the KIDYANG website from now onward.
Please stay tuned to explore the worksite and activities at Wat Chaiwatthanaram via the "KID Ruk" (KID Preserves) column on the KIDYANG website.

Коментарі