WAT CHAI STORY: Barn Owl Family at Meru Wat Chai - นกกลางคืนเริงร่าที่วัดไชยวัฒนาราม
อัปเดตเมื่อ 6 เม.ย. 2565
Waraporn Suwatchotikul
Nuttida Vanichayalai
วราภรณ์ สุวัฒนโชติกุล
ณัฐธิดา วณิชยาลัย
Birds always put background music on for the WMF conservation team at Wat Chaiwatthanaram. Cooing here and chirping there around the monument are either pigeons, mynas, robins, or sparrows. Occasionally, spectacular birds also appear in trees with bright feathers and spiky crests, making funny noises. Those quieter ones are owls who live secretly during the daytime in meru attics and only come out to hunt after the sun sets. At Meru C5, the tower currently being restored, the team of masons and conservators are distantly adopting the family of an owl and its newborns.
ตลอดระยะเวลาที่โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามได้ดำเนินงานมานั้น เหล่านักอนุรักษ์ประจำโครงการไม่เคยต้องทำงานอย่างเงียบเหงา เพราะมีบรรดานกสายพันธุ์ต่าง ๆ คอยบรรเลงเสียงเพลงตามธรรมชาติให้ฟังอยู่เสมอ บ้างส่งเสียบจิ๊บ ๆ ทางนี้ที คู้คูทางโน้นทีอยู่โดยรอบ นกที่พบเป็นประจำจนชินตา ได้แก่ นกพิราบ นกเอี้ยง นกกางเขน และนกกระจอก บ่อยครั้งที่มองไปบนต้นไม้ใหญ่ก็จะพบนกที่แปลกตาออกไป ลำตัวสีสันสดใสหรือมีหงอนแหลมที่หัว มาพร้อมกับเสียงเจื้อยแจ้วที่ฟังแล้วชวนขำปนเอ็นดู ส่วนพวกนกที่ชอบเก็บตัวอยู่เงียบ ๆ ในตอนกลางวันอย่างนกเค้าแมวหรือนกแสกก็จะปลีกวิเวกอยู่ในห้องเหนือฝ้าเพดานของเมรุ และออกมาหากินหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว ที่เมรุหมายเลข 5 ซึ่งเป็นเมรุที่กำลังดำเนินงานบูรณะอยู่นั้น ใครเลยจะคาดคิดว่าเหล่าทีมช่างและนักอนุรักษ์ของโครงการกำลังเฝ้าเลี้ยงดูครอบครัวนกแสก/นกเค้าแมวอยู่ห่าง ๆ
Barn owls are nocturnal birds, distinctive with their spotted white feathers and heart-shaped faces. They live mostly in big trees or abandoned buildings. Unfortunately, in traditional Thai culture, they are a symbolic carrier of bad luck, not welcomed around people. It is believed that if a barn owl lands on your roof, someone living in the house will die. Chief Mason Mali Choomchooboon doesn’t buy that belief, though. Several months ago, while she was working on masonry around a historical ventilation hole on Meru C5, she saw two small dots of light beaming out in the dark. A mama barn owl was brooding her three eggs. This is the third owl we’ve found living inside conical voids above merus’ ceilings. Researching on the internet, we learned that barn owls take around 5 weeks to nurture their chicks. The little ones at Wat Chai just hatched out from their shells a few days ago so they should be ready to leave the nest by October. Chief Mason Mali decided to let the family live peacefully and keep the area where they are nesting undisturbed. As nowadays it’s rare to see owls living close to humans like this, the decision was made to also help conserve this bird species, protected by the wildlife act, together with conserving the cultural heritage! While waiting for the chicks to move out of home, the team is busy with restoring other parts of the meru.
นกแสกเป็นนกที่หากินตอนกลางคืน มีลักษณะเด่นชัดคือมีขนสีขาวแซมน้ำตาลและกรอบหน้ารูปหัวใจ โดยทั่วไปมักอาศัยอยู่บนต้นไม้ขนาดใหญ่หรืออาคารบ้านเรือนที่ถูกทิ้งร้าง ถือเป็นนกที่มีเรื่องราวน่าสงสาร เนื่องจากตามความเชื่อดั้งเดิมของคนไทย นกเค้าแมวหรือนกแสกถือเป็นนกอัปมงคลหรือตัวนำพาโชคร้ายจึงไม่ค่อยเป็นที่ต้อนรับของผู้คน เชื่อกันว่าหากมีนกแสกบินมาเกาะหลังคาบ้านไหน ต่อมาบ้านนั้นจะมีคนเสียชีวิต แต่คุณมะลิ ชุ่มชูบุญ หรือ “ป้ามะลิ” หัวหน้าช่างอิฐ/ช่างอนุรักษ์ประจำโครงการไม่ได้เชื่อเช่นนั้น หลายเดือนที่แล้วขณะที่กำลังซ่อมแซมอิฐรอบ ๆ ช่องรูปบวกหรือช่องระบายอากาศแบบโบราณของเมรุหมายเลข 5 ป้ามะลิเหลือบไปเห็นลำแสงเป็นจุดเล็ก ๆ สองดวงลอดออกมาจากความมืดภายในช่อง พอจ้องมองเข้าไป ปรากฏว่าเป็นนกแสกแม่ลูกอ่อนกำลังกกไข่สามใบ นกแสกตัวนี้นับเป็นตัวที่สามที่เจ้าหน้าที่พบอาศัยอยู่ในห้องเหนือฝ้าเพดานของเมรุทิศเมรุรายที่วัดไชยวัฒนาราม หลังจากค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมในอินเตอร์เน็ต ทีมนักอนุรักษ์จึงได้รู้ว่านกแสกหรือนกเค้าแมวจะใช้เวลาประมาณ 5 สัปดาห์ในการเลี้ยงดูลูก เจ้าตัวเล็กที่วัดไชยฯ นั้นเพิ่งฟักออกมาจากไข่ได้ไม่กี่วัน คาดว่าน่าจะพร้อมโบยบินออกจากรังได้ประมาณช่วงกลางเดือนตุลาคม ป้ามะลิจึงตัดสินใจปล่อยให้นกแสกครอบครัวนี้ได้อยู่อาศัยอย่างสงบ โดยยังไปไม่ทำงานบูรณะใด ๆ ในบริเวณนั้น ในปัจจุบันการได้เห็นนกแสกหรือนกเค้าแมวอาศัยอยู่ใกล้ชิดกับคนขนาดนี้ถือเป็นเรื่องที่พบได้ยาก ทางทีมเจ้าหน้าที่ของโครงการจึงตัดสินใจที่จะอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอย่างโบราณสถานไปพร้อม ๆ กับการอนุรักษ์สายพันธุ์นกที่เป็นสัตว์หายากไปด้วย โดยทำงานบูรณะส่วนอื่น ๆ ของเมรุระหว่างรอลูกนกเติบโตให้พร้อมออกจากรัง
Given the existing conditions of the Wat Chai monument, owls, along with bats, rats, and other animals, have access to attics through voids on interior wood ceilings and ventilation holes on meru walls. Their guano is one of the main deterioration factors since it contains acidic components that can create chemical reactions with historical materials. Among the six workshops organized in 2016 to address different conservation problems at Wat Chai, one was on animal infestation control. An international expert who led the workshop suggested closing every cavity or screening off every void to reduce as much as possible areas where birds can nest and perch. At Meru C5, most of the ventilation holes have already been blocked with grid and the cavities where roofing beams existed are being prepared for wood infill. After these young owls take their first journeys into the world, the conservation team will also close this ventilation hole and temporary doors will be installed at the entranceways of the meru interior chamber. Some work may need to be sneakily done at night when owls and bats are out hunting in the dark. However, as natural predators to other birds, owls can be of use at Wat Chai. We are exploring ways to have them nest close to the site so they can roam around the area and keep other birds away.
ด้วยสภาพของโบราณสถานที่วัดไชยวัฒนาราม นกเค้าแมว ค้างคาว หนู และสัตว์อื่น ๆ สามารถเข้าไปทำรังอาศัยในห้องเหนือฝ้าเพดานของเมรุ ผ่านช่องโหว่ที่ชำรุดของฝ้าและช่องระบายอากาศ มูลที่สัตว์เหล่านี้ขับถ่ายออกมาเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้โบราณสถานเสื่อมสภาพ เนื่องจากในมูลมีส่วนประกอบที่เป็นกรดจึงสามารถทำปฏิกิริยาทางเคมีกับวัสดุโบราณ ทั้งนี้ การควบคุมสัตว์รบกวนในโบราณสถานเป็นหัวข้อหนึ่งจากทั้งหมดหกหัวข้อของงานฝึกอบรมปฏิบัติที่ทางโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามจัดขึ้นในปี 2559 เพื่อศึกษาปัญหาด้านงานอนุรักษ์ที่พบในวัดไชยฯ ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศที่เป็นวิทยากรหลักของหัวข้อนี้้ ได้แนะนำให้อุดปิดทางเข้าออกของช่องที่พบบนเมรุทุกช่อง เพื่อลดพื้นที่ที่นกสามารถทำรังให้ได้มากที่สุด ที่เมรุหมายเลข 5 ช่องระบายอากาศเกือบทุกช่องถูกปิดด้วยตาข่ายเหล็กหมดแล้ว ขณะที่ช่องที่เคยเป็นที่ใส่คานไม้จะถูกปิดด้วยชิ้นไม้ที่ตัดแต่งสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ หลังจากลูกนกเค้าแมวสามตัวนี้เติบโตและทิ้งรังไป ทีมนักอนุรักษ์ก็จะปิดช่องระบายอากาศช่องนี้เช่นเดียวกัน รวมถึงติดตั้งประตูชั่วคราวที่ทางเข้าออกห้องภายในเมรุ ซึ่งต้องทำงานกันแบบลึกลับสักหน่อยในยามค่ำคืน เพราะต้องรอให้เหล่านกแสก นกเค้าแมวและค้างคาวออกไปหากินตอนกลางคืนเสียก่อนจึงค่อยปิดช่องและปิดประตู จะว่าไปแล้ว นกแสกหรือนกเค้าแมวถือว่าเป็นประโยชน์แก่วัดไชยวัฒนาราม ในสถานะนกผู้ล่าโดยธรรมชาติ ทางเจ้าหน้าที่จึงอยู่ในระหว่างศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อหาวิธีให้นกเหล่านี้ได้ทำรังอาศัยไม่ไกลจากวัดโดยไม่ส่งผลเสียต่อโบราณสถานและคอยไล่นกสายพันธุ์ขนาดเล็กตัวอื่น ๆ
Komentáře