เจดีย์ - กำเนิด และพัฒนาการ
"เจดีย์" สิ่งก่อสร้างเนื่องในพุทธศาสนสถาปัตยกรรม องค์ประกอบที่มักมีความสำคัญอย่างยิ่งในเขตพุทธาวาสหลายยุคสมัย
"เจดีย์" เป็นคำที่มาจากคำว่า เจติยะ (บาลี) ที่หมายถึง สิ่งระลึกถึง
ส่วนเจดีย์มีความหมายเหมือนกับถูป (บาลี) สถูป (สันสกฤต) นั่นคือหมายถึง สิ่งก่อสร้างเพื่อระลึกถึง เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามสถูปนั้นยังมีความหมายว่า เนินดิน อีกด้วย
ซึ่งทำให้เชื่อกันว่า สถูปเจดีย์นั้นเริ่มจากการเลียนมาจากเนินดินของกษัตริย์ในอินเดียโบราณ
สำหรับพุทธศาสนา สถูปเจดีย์ปรากฏอย่างเด่นชัดครั้งแรกมหาปรินิพพานสูตร พระพุทธเจ้าให้ระลึกถึงพระองค์ด้วยสร้างสถูปอย่างกษัตริย์ ณ ทาง 4 แพร่ง หลักจากเสร็จพิธีถวายพระเพลิงพระสรีระของพระพุทธเจ้า กษัตริย์จากแคว้นทั้ง 8 จึงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปสร้างสถูป ณ แคว้นของตน สถูปสมัยแรกเป็นการก่ออิฐฉาบปูน ข้างในสถูปมีกรวดและดินอัดแน่นก่อทับด้วยอิฐหรือหิน รูปทรงคล้ายเนินดิน แบบเดียวกับสุสานดั้งเดิม สถูปดั้งเดิมเหล่านี้ถูกสร้างทับๆกันไปในสมัยต่อมา และมีการพัฒนาฝีมือช่าง,การประดับตกแต่ง มากขึ้นตามความสูงของสถูป สถูปรุ่นๆแรก พบบริเวณชายแดนอินเดีย-เนปาล รวมไปถึงในบริเวณแคว้นอานธารประเทศ
นอกจากมีพัฒนาการมาจากเนินดิน เจดีย์ยังเป็นสิ่งก่อสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่สื่อถึงพระพุทธเจ้า ที่ใกล้เคียงลักษณะนามธรรมของพุทธะมากกว่าพระพุทธรูปที่พยายามสร้างรูปลักษณ์ของพระพุทธเจ้า
พระพุทธรูปเกิดขึ้นในสมัยหลังราวพุทธศตวรรษที่ 6 ในแค้นคันธารราษฎร์ แต่เจดีย์ปรากฏขึ้นก่อนหน้านั้น ถ้าตามมหาปรินิพพานสูตรก็เกิดหลังถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะกล่าวว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" และให้ใช้สังเวชนียสถานเป็นที่ระลึกถึงพระองค์ แต่อาจไม่พอสำหรับสาวกที่ต้องการวัตถุธรรมเป็นที่ยึดเหนี่ยว เป็นที่มาของเจดีย์ทั้ง 4 ประเภท นั่นคือ ธาตุเจดีย์, บริโภคเจดีย์, ธรรมเจดีย์ และอุเทสิกะเจดีย์
อย่างไรก็ตามในแง่ความหมายของพระสถูป นักวิชาการต่างตีความได้ไปไกลกว่านั้นทั้งแบบศึกษาเฉพาะรูปแบบสถูปเจดีย์แบบใดแบบหนึ่ง สมัยใดสมัยหนึ่ง และแบบที่ศึกษาหาจุดร่วมเชิงนามธรรม เช่น หนังสือ "The Symbolism of the Stupa" ของ Adrian Snodgrass(รศ.ดร.ภัทรพร สิริกาญจน และคณะแปล) ที่ "เปิดกว้าง" ในแง่จินตภาพของสัญลักษณ์ต่างๆที่สามารถเป็นตัวแทนความหมายได้อย่างไม่ตายตัว แต่เกี่ยวพันและสะท้อนความหมายซึ่งกันและกัน เพื่อสื่อความหมายที่เหนือกว่าที่อาจรู้ได้เพียงปัญญา
ส่วนในจดหมายเหตุการณ์การเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง ของ พระถังซัมจั๋ง(ศ.ชิว ซู หลุน แปล) อธิบายแตกต่างออกไป เมื่อคฤหบดีต่างแดนสองคนที่เลื่อมใสพระพุทธเจ้าและปฏิญาณตนเป็นอุบาสกสองคนแรกในพระพุทธศาสนา อีกทั้งทูลขอสิ่งที่จะนำกลับไปสักการบูชาเมื่อจะกลับไปยังบ้านเมืองของตน พระพุทธเจ้าจึงทรงประทานพระเกศาและพระนขา ดังนั้นคฤหบดีทั้งสองจึงทูลถามแบบแผนในการสักการระบูชา พระพุทธเจ้าจึงทรงพับไตรจีวรทั้งสามเป็นรูปสี่เหลี่ยมปูลงกับพื้นพับและปูซ้อนกัน จากนั้นก็คว่ำบาตรลงบนจีวรและตั้งไม้ขักขระไว้บนบาตรอีกชั้นหนึ่ง คฤหบดีทั้งสองเห็นเช่นนั้น เมื่อกับถึงบ้านเมืองของตนจึงลงมือสร้างสิ่งก่อสร้างตามลักษณะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้ดู และนั่นคือที่มาของพระสถูปเจดีย์องค์แรกในพระพุทธศาสนา
มุขปาฐะของอาจารย์ท่านหนึ่งของผมเคยเล่าให้ฟัง ว่าสถูปเจดีย์นั้น เริ่มต้นจากคฤหบดีต่างแดนสองคนเลื่อมใสพระพุทธเจ้าและปฏิญาณตนเป็นอุบาสกสองคนแรกในพระพุทธศาสนา แล้วจึงทูลถามสิ่งสำหรับสักการระบูชาเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า แล้วพระองค์จึงทรงคว่ำบาตรที่ว่างเปล่าเหนือไตรจีวรที่วางพับไว้ และไม่มีสิ่งใดหล่นลงมาจากบาตรที่ว่างเปล่านั้น แต่สาวกไม่get.
เผยแพร่ครั้งแรกที่
תגובות