top of page
Shanikant Nimplum

เยี่ยมโรงทำอิฐประดิษฐ์เผา ยลโรงกระเบื้องเก่าเหย้าโบราณ

อัปเดตเมื่อ 31 ต.ค. 2564

Following the ancient way: Intern’s trip at the brick and roof tile factory in Suan Prik, Ayutthaya Province


เรื่องและภาพโดย


ชนิกานต์ นิ่มปลื้ม


By Shanikant Nimplum

นักศึกษาฝึกงานโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม ปี 2564

Intern of Wat Chaiwatthanaram Conservation Project (AFCP Wat Chai Internship 2021)

 


สวนพริก ชุมชนผลิตอิฐสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ยังมีลมหายใจ

Suan Prik, Living heritage of brick factory

 

In the third week of the internship program at the Wat Chai Watthanaram Conservation Project, we began to learn about mortar formula and brick masonry for preservation from the professional technician; Khun Mali, who has forty years of experience in this field. Then, to understand more about the brick, we decided to make a field trip to the local brick factory in Suan Prik, Ayutthaya Province, for observing the brick-making process and learning about the local history of this area.

During the Ayutthaya Empire period, Suan Prik was an area where people making bricks and tiles as their career. About two centuries later, these local businesses are still running by people who inherit knowledge from their ancestors. A local brick factory that we went to visit has run their business for at least three generations. After a warm welcoming, the owners showed everyone the process of making bricks, and, in this factory, bricks are made mostly in a traditional way.


การฝึกงานในโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามได้ดำเนินเข้าสู่สัปดาห์ที่สาม ซึ่งนับว่าเป็นระยะเวลาครึ่งทางแล้วสำหรับเหล่านักศึกษาฝึกงานกลุ่มแรกทั้งสามคน ในสัปดาห์นี้คณะนักศึกษาฝึกงานได้เรียนรู้สูตรปูนต่าง ๆ สำหรับงานอนุรักษ์ พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติพิเศษเกี่ยวกับการก่ออิฐในงานอนุรักษ์กับคุณมะลิ ช่างผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 40 ปี และโอกาสนี้ คุณมะลิกับคณะนักอนุรักษ์จากกองทุนโบราณสถานโลก (World Monuments Fund) ได้จัดกิจกรรมทัศนศึกษาเยี่ยมชมโรงทำอิฐและโรงทำกระเบื้องในตำบลสวนพริก อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการทำอิฐและกระเบื้อง รวมถึงเสริมสร้างความเข้าใจด้านการอนุรักษ์งานช่างและภูมิปัญญาพื้นบ้านให้แก่นิสิตนักศึกษาฝึกงาน

ตำบลสวนพริกตั้งอยู่ไม่ไกลจากด้านทิศเหนือของเกาะเมือง ที่แห่งนี้เป็นชุมชนที่ผลิตอิฐและกระเบื้องดินเผามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แม้กาลเวลาจะผ่านไปพร้อมกับการล่มสลายของราชธานีโบราณ ทว่าความรู้ในการผลิตอิฐและกระเบื้องดินเผาในตำบลสวนพริกยังคงมีลมหายใจที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น กิจการโรงทำอิฐและโรงทำกระเบื้องหลายแห่งในพื้นที่นี้ยังมีทายาทที่สืบทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษ สำหรับกิจการโรงทำอิฐที่เหล่านักศึกษาฝึกงานได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมก็เป็นกิจการที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาแล้วอย่างน้อย 3 รุ่น




Brick-making begins by mixing well of good quality soil and rice hulls. After that, the freshly shaped, unburn bricks need to be dried enough and decorated again before being fired up in the brick kiln. Tons of rice hulls and wet ash are used in the burning process. Then, later being fired up for about ten days and a couple of days to cool down, the good quality bricks are ready to use.

After observing the brick factory, we headed to the local tile factory located nearby in the same area. This factory is also run in type of household business, and the owner in each generation inherits the tile-making knowledge from their ancestors.


ณ โรงทำอิฐ เจ้าของกิจการได้สาธิตกระบวนการทำอิฐแบบโบราณให้เหล่านักศึกษาฝึกงานและนักอนุรักษ์ได้ชม พร้อมทั้งอธิบายถึงการทำอิฐคุณภาพดีว่าต้องเริ่มต้นตั้งแต่การคัดเลือกวัสดุที่เหมาะสม จากนั้นนำดินและแกลบมาผสมให้เข้ากันดีก่อนนำเข้าพิมพ์ ใช้ขี้เถ้าโปรยเพื่อป้องกันไม่ให้เนื้ออิฐดิบติดกับพื้น นำอิฐดิบที่ออกจากพิมพ์ตากแดดให้แห้งสนิทเพื่อจะตัดแต่งให้สวยงามแล้วนำเข้าเตาเผาอิฐต่อไป

ในส่วนของพิมพ์อิฐ แม่พิมพ์สำหรับอิฐจะทำจากไม้ที่มีความคงทนแข็งแรง อีกทั้งมีขนาดที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามจุดประสงค์การใช้งานอิฐในแต่ละประเภท เช่น แม่พิมพ์ขนาดเล็กสำหรับอิฐขนาดเล็กที่ใช้ในการตกแต่งภายในสถาปัตยกรรม แม่พิมพ์ขนาดใหญ่สำหรับอิฐขนาดใหญ่ที่ใช้ในการก่อสร้าง เป็นต้น อย่างไรก็ดี อิฐส่วนใหญ่ที่มีการผลิตในบริเวณตำบลสวนพริกนี้เป็นอิฐที่มีขนาดตามแบบอิฐโบราณที่มีการใช้กันในสมัยอยุธยา คือมีขนาดหนา 5 เซนติเมตร กว้าง 15 เซนติเมตร และยาว 30 เซนติเมตร

เมื่อคุณยายเจ้าของโรงทำอิฐรุ่นก่อนและบุตรสาวที่เป็นผู้สืบทอดกิจการคนปัจจุบันได้อธิบายกระบวนการทำอิฐอย่างละเอียดแก่คณะผู้มาเยี่ยมชมแล้ว นับเป็นโชคดีอย่างยิ่งที่อิฐชุดล่าสุดของโรงทำอิฐแห่งนี้กำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนการเผา นักศึกษาฝึกงานจึงได้มีโอกาสสังเกตการณ์ตั้งแต่การเตรียมแกลบที่เป็นเชื้อเพลิงไปจนกระทั่งการจุดไฟเตาเผาอิฐ ซึ่งเตาเผาอิฐแห่งนี้ก็มีความพิเศษ เนื่องจากเป็นเตาเผาที่ทำขึ้นด้วยสังกะสีรีไซเคิลจากอาคารเก่า แต่ก็สามารถผลิตอิฐคุณภาพดีออกมาได้อย่างไม่ขาดสาย และเมื่อเผาไปได้ประมาณสิบวันโดยห้ามไม่ให้ไฟมอดในระหว่างนั้น แล้วทิ้งให้อิฐเย็นตัวอีกประมาณสองสามวัน อิฐสวยคุณภาพดีก็พร้อมสำหรับใช้ในการก่อสร้างต่อไป




The tile-making process of this factory also keeps way as in the past. Different from making brick, a professional tile-maker does not use a mixing machine to mix the ingredients. In the mixing process, the mixers need to tramp on ingredients for mixing it well the same way as what people in the past had done. In addition, the tiles normally have to be fired up only one day with good weather.

Noticing that we were interested in the tile-making process, the owners allowed my intern-colleagues to get hands-on experiences. The professional tile maker showed how to shape tiles in different types. Meanwhile, her son taught us to put the dowel in the tile. One of the hardest tiles to make is the “Cherng Chai” tile (the end piece of a roof tile set). This type of tile is hard to make because of its decoration and motif. Sadly, fewer people can make this wonderful tile in Thailand. Two months ago without having anyone inherit her skills, the 104 years old tile-maker of this tile factory died and left her family concerning about the process to make “Cherng Chai” tile. It is because no one can replace the old maker’s position with the same capability.


หลังจากพูดคุยติดต่อกับเจ้าของโรงทำอิฐเกี่ยวกับอิฐชุดใหม่สำหรับงานอนุรักษ์ที่วัดไชยวัฒนารามเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทัศนศึกษาก็ได้เคลื่อนขบวนไปยังโรงทำกระเบื้องดินเผาที่อยู่ห่างออกไปไม่ไกล และเช่นเดียวกับโรงทำอิฐ กิจการโรงทำกระเบื้องแห่งนี้ดำเนินงานแบบธุรกิจในครัวเรือน เจ้าของโรงทำกระเบื้องรุ่นปัจจุบันได้รับสืบทอดความรู้ในการทำกระเบื้องดินเผามาจากบรรพบุรุษ พวกเขายังคงใช้กรรมวิธีแบบโบราณในการผลิตกระเบื้องดินเผาที่สวยงามและคุณภาพดี โดยเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ ใช้ขั้นตอนการผสมส่วนผสมที่ต้องใช้แรงคนและร่างกายมนุษย์แทนเครื่องจักรเพื่อให้ได้เนื้อส่วนผสมที่เนียนละเอียด การนำเนื้อดินที่ผสมแล้วเข้าสู่แม่พิมพ์ไม้ การถอดพิมพ์ที่ต้องอาศัยความชำนาญ การประกอบเดือยกระเบื้อง การตากกระเบื้องให้แห้งดี ตลอดจนการนำกระเบื้องดิบเข้าสู่กระบวนการเผาที่ใช้ระยะเวลาประมาณหนึ่งวัน ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายนี้ต้องใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมาเพื่อให้ได้กระเบื้องคุณภาพดี เนื้อกระเบื้องเรียบเสมอกัน ไม่บิดงอ ไม่แข็งและไม่อ่อนจนเกินไป อีกทั้งมีสีสันที่สวยงาม

เมื่อสังเกตว่าคณะนักศึกษาฝึกงานต่างให้ความสนใจกับขั้นตอนการถอดพิมพ์กระเบื้องดิบกับการประกอบเดือย ครอบครัวเจ้าของโรงทำอิฐจึงอนุญาตให้พวกเขาได้ทดลองนำส่วนผสมเข้าแม่พิมพ์กระเบื้องแบบต่าง ๆ และสาธิตวิธีการประกอบเดือยกระเบื้องให้อย่างใกล้ชิดเป็นกันเอง แม้ว่าสุดท้ายเหล่านักศึกษาฝึกงานจะไม่สบความสำเร็จในการนำส่วนผสมเข้าพิมพ์เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยความชำนาญจากประสบการณ์ แต่พวกเขาก็สนุกสนานกับการได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ และการพูดคุยสนทนากับคุณยายเจ้าของโรงทำกระเบื้องรุ่นก่อน ซึ่งเป็นคุณแม่ของเจ้าของโรงทำกระเบื้องรุ่นปัจจุบัน

นอกจากประสบการณ์ของตัวเองในการทำกระเบื้องดินเผาแล้ว คุณยายยังเล่าถึงประวัติของครอบครัวที่ดำเนินกิจการโรงทำกระเบื้องในย่านนี้มานานเกือบสามชั่วอายุคนให้เหล่านักศึกษาฝึกงานได้ฟัง อีกทั้งเล่าถึงสถานการณ์ปัจจุบันของโรงทำกระเบื้องที่ประสบปัญหาในการขาดผู้เชี่ยวชาญการทำกระเบื้องเชิงชายเทพนม เนื่องจากกระเบื้องชนิดนี้เป็นกระเบื้องที่ทำได้ยากกว่ากระเบื้องชนิดอื่น และผู้เชี่ยวชาญคนสุดท้ายที่มีอายุ 104 ปี ได้จากไปเมื่อสองเดือนก่อนโดยไม่มีศิษย์ผู้สืบทอดเทคนิควิธีการ ทำให้กระบวนการผลิตกระเบื้องเชิงชายในปัจจุบันของโรงงานยากลำบากกว่าแต่ก่อน



The shortage of professional artisans is another important problem affecting the preservation in Thailand. It is because the conservation of historic buildings needs various ancient-making materials. Especially basic materials such as ancient bricks, tiles, and mortar. The shortage of experts and the inheritance of knowledge in ancient artisanship is a problem that should be aware of and concerned about in the near future.

As the Wat Chaiwatthanaram Conservation Project aware of this problem, we, the interns, have to learn about the value of inheriting local knowledge. The reason is, conservation is not only about maintaining ancient architectures, but also valuing the local wisdom related to preserve them. This is an important point to keep cultural heritage alive in a long term.


ปัญหาด้านการขาดแคลนผู้สืบทอดความรู้เชิงช่างโบราณเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อกระบวนการอนุรักษ์โบราณสถานและสถาปัตยกรรมในประเทศไทย เนื่องจากโบราณสถานเหล่านี้ต้องอาศัยวัสดุโบราณต่าง ๆ ในการดำเนินงานอนุรักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุพื้นฐานเช่น อิฐโบราณ กระเบื้องดินเผา และปูน การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญและการสืบทอดองค์ความรู้ในงานช่างโบราณจึงเป็นปัญหาที่ต้องรีบขบคิดและแก้ไขต่อไปในอนาคตอันใกล้

โครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ คุณมะลิ ผู้ที่มีอายุ 70 ปีแล้วในปีนี้ จึงพยายามส่งต่อทั้งความรู้และประสบการณ์ของเธอให้แก่คุณแกละ นายช่างรุ่นน้องซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานในโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนาราม ทั้งสองต่างเป็นช่างผู้มีประสบการณ์ที่ได้ผสมผสานภูมิปัญญาในท้องถิ่นเข้ากับวิธีการอนุรักษ์ระดับสากลของกองทุนโบราณสถานโลก ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญที่กองทุนโบราณสถานโลกตั้งเป้าหมายในการส่งต่อให้คนรุ่นถัดไปในอนาคต

การฝึกงานในโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามนี้ คณะนิสิตนักศึกษาฝึกงานจึงได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณค่าของการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไปพร้อมกับการลงมือฝึกปฏิบัติจริงในงานอนุรักษ์ เนื่องจากการอนุรักษ์อาคารเก่าแก่และให้คุณค่ากับความรู้ในการบำรุงรักษาอาคารเหล่านั้นต่างเป็นส่วนสำคัญในการรักษาเอกลักษณ์ของไทยให้คงอยู่ และเป็นแนวทางสำหรับการอนุรักษ์องค์ความรู้และมรดกทางวัฒนธรรมของไทยให้ยั่งยืนต่อได้ในอนาคต







ดู 214 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page